25 เมษายน 2558

ตำนานพระนางพญา (ฉบับสมบูรณ์) 7/12


รูปพระนางพญาขนาดใกล้เคียงกับพระของจริง








องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประกาศอิสรภาพ

องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงประกาศอิสรภาพ เป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาแล้ว จึงหันมาพัฒนาวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดนางพญา วัดราชบูรณะ ที่พระราชบิดาและพระราชมารดาทรงสร้าง พร้อมทั้งสร้างพระเครื่องให้เป็นขวัญและกำลังใจแก่ทหารที่ออกรบอีกครั้งที่เหลือก็นำไปบรรจุไว้ในกรุทั้งสามวัด เพราะมีเขตขันธ์สีมาติดต่อกัน 

อาจมีบางท่านตั้งข้อสงสัยกันว่า เวลามีศึกสงครามทำไมไม่รื้อหรือขุดเอาพระนางพญาที่บรรจุอยู่ในกรุออกมาใช้อีก เนื่องจากคนในสมัยโบราณถือกันว่า การทุบทำลายสถูปเจดีย์และ พระพุทธรูปนั้นเป็นบาปที่ใหญ่หลวง ปัจจุบันผิดกฎหมายมีสิทธิ์ติดคุกติดตะราง จึงไม่มีการทุบหรือทำลายสถูปเจดีย์และพระพุทธรูปเพื่อนำเอาพระเครื่องที่บรรจุอยู่ในกรุออกมาใช้กัน สิ่งสำคัญคนในสมัยโบราณ ไม่นิยมที่จะนำสิ่งของที่เป็นของวัดเข้าบ้าน เพราะกลัวบาปและไม่เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว 

นำกลับไปคืนวัด

ทุกครั้งที่เสร็จศึกสงคราม ทหารและประชาชนที่ได้รับแจกพระเครื่องจากวัดต่างๆไปป้องกันตัว ต่างก็พากันนำกลับไปคืนวัดหมด ใครอยู่ใกล้วัดไหนก็นำกลับไปคืนวัดนั้น โดยไม่เจาะจงว่าตอนรับจะไปรับมาจากวัดไหน ส่งผลทำให้พระนางพญาและพระเครื่องวัดอื่นๆ ถูกบรรจุรวมอยู่ในกรุเดียวกันอย่างถาวร จนคนรุ่นหลังๆเข้าใจไปว่า พระนางพญาแท้ได้สูญหายจากโลกนี้ไปแล้ว จวบจนกระทั่งสถูปเจดีย์และพระพุทธรูปทรุดโทรมพังทลายลงมาเอง เรียกว่า“กรุแตก” พระนางพญาแท้ที่นำออกมาจากกรุแตก กลายเป็นพระแปลกตา ส่งผลทำให้นักนิยม สะสมพระเครื่องยุคใหม่ถอดใจ ไม่กล้าสะสมพระหลักในชุดเบญจภาคีล้ำค่าหายาก, ราคาแพง,เพราะกลัวถูกหลอก ถึงกับพาลไม่สนใจในพระเก่าแก่ชุดเบญจภาคีที่พระและครูบาอาจารย์ท่านสร้างไว้ในอดีตไปเลย 

สะสมพระเก๊ไว้เต็มคอ

ทั้งๆที่พระแท้ของจริงยังมีอยู่กับชาวบ้านธรรมดาๆ ระดับตาสีตาสา อีกมากมาย กลุ่มบุค คลดังกล่าวเป็นคนเก่าแก่หัวโบราณ ไม่ได้สนใจที่จะส่งพระเครื่องเข้าประกวด และไม่ได้สนใจใบการันตีของคนรุ่นลูกรุ่นหลาน เพราะเชื่อมั่นในพระที่ได้รับมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษว่าเป็นพระแท้ 100% 

. ทำให้พ่อค้า นักธุรกิจ ทหาร ตำรวจ และคนฐานะดีมีเงิน ไม่มีโอกาสได้เข้าถึงและครอบครองเป็นเจ้าของพระแท้ของจริง เพราะมองข้ามบุคคลต้นน้ำ กลางน้ำ ไปฟังคนปลายน้ำกล่อม จนหลงทางเชื่อว่า พระแท้จะต้องผ่านการประกวด จะต้องมีใบการันตี ทั้งๆที่ไม่มีการจดบันทึก ไม่มีตำราเรียนสืบทอดต่อกันมา ไม่มีตำนานลานทองให้ศึกษา จะไปเอาหลักฐานและข้อ มูลอะไรที่ไหนมายืนยันว่าเป็นพระแท้หรือไม่แท้ เป็นเหตุทำให้พ่อค้านักธุรกิจทหารตำรวจ และคนฐานะดีมีเงินสะสมพระเก๊กันไว้เต็มคอ 

ต้องเป็นตัวของตัวเอง

นักสะสมจะต้องหาจุดยืนของตนเองให้ได้ก่อน ว่าต้องการได้พระไว้เพื่ออะไร ถ้าต้องการได้พระไว้เพื่อความเป็นสิริมงคล ทำมาหากินเจริญรุ่งเรือง ค้าขายดี มีโชคลาภ และแคล้วคลาดปลอดภัย ก็ควรพิจารณาดูพระที่มีร่องรอยของความเก่าแก่ทางธรรมชาติ ที่ผ่านกาลเวลามานานนับร้อยปีพันปีเป็นหลัก แต่ถ้าต้องการได้พระไว้เพื่อส่งเข้าประกวดก็เลือกกลุ่มเลือกสมาคม เลือกพระตามกระแสนิยมในยุคนั้นๆไป ไม่ต้องสนใจว่าจะเป็นพระแท้หรือไม่แท้

ประสบการณ์งานประกวด

ขอแนะนำให้ดูงานประกวดปลาคาร์ฟที่ เดอะมอลล์ บางกะปิ ไว้เป็นตัวอย่าง ในงานนั้นมีคนสั่งปลาคาร์ฟจากฟาร์มในประเทศญี่ปุ่นโดยตรง เข้ามาประกวดกันหลายคน คณะผู้จัดการประกวดก็เชิญเจ้าของฟาร์มปลาคาร์ฟ จากประเทศญี่ปุ่น มาเป็นกรรมการตัดสินในการประกวดครั้งนั้นด้วย ปกติเจ้าของฟาร์มทุกคน จะจำปลาของตนเองได้หมดทุกตัว 

ผลการประกวด ปรากฏว่าคนที่นำปลาคาร์ฟเข้าจากประเทศญี่ปุ่นโดยตรงชนะ ได้รับรางวัลสำคัญๆหมดทุกตัว หลังจากการประกวดผ่านไป ปลาที่ชนะและได้รับรางวัลนั้น ขายดี มีราคาแพงขึ้นตัวละเป็นแสนเป็นล้าน แล้วปลาคาร์ฟไปเกี่ยวอะไรกับพระเครื่องด้วยล่ะ คิดเอาเองก็แล้วกัน 

อีกประสบการณ์หนึ่งคล้ายๆกันคือ เคยเห็นคณะกรรมการ ( บางคน ) เอาพระของตัวเองให้ญาติพี่น้องหรือเพื่อนส่งเข้าประกวดแทนได้รับรางวัลและใบการันตียืนยันเป็นพระแท้ หรอกนักนิยมใบเซอร์และเศษรฐีมาแล้ว ตราบใดที่นักสะสมไม่มีจุดยืนและความคิดเป็นของตัวเอง ก็ต้องถูกหลอกและไม่ได้ครอบครองเป็นเจ้าของพระแท้ของจริงอย่างนี้เรื่อยไป 



(ซ้าย) พิมพ์เข่าโค้งสร้างในยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์ (ขวา) พิมพ์เข่าโค้งสร้างในยุคขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ความแตกต่างที่น่าสนใจ 
 
พระนางพญาทั้งสองยุค เมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน จะเห็นความแตกต่างระหว่าง รูปทรงโครงสร้างขององค์พระและเนื้อดินที่สร้างได้ชัดเจน อายุการสร้างใกล้เคียงกัน มีพุทธคุณเหมือน กัน คือเน้นหนักในเรื่องแคล้วคลาดปลอดภัย โชคลาภ ค้าขายดี มีเมตตามหานิยม ร่ำรวยไวและ ไม่มีวันยากจนเป็นหลัก

พิธีปลุกเสก

พิธีปลุกเสกใช้วิธีอัญเชิญเทพและเทวดา ฤาษี พระสงฆ์ผู้ทรงศีลและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในเมืองพิษณุโลกอันได้แก่ หลวงพ่อพระพุทธชินราชเป็นต้น ปลุกเสกกันที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ

พระเกจิอาจารย์ในสมัยโบราณ ส่วนมากท่านจะมีเวทมนต์คาถาขลังและศักดิ์สิทธิ์ถึงขั้นพิสูจน์เป็นรูปธรรมได้ มาถึงยุคกรุงรัตน์โกสินทร์ ก็มีหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เสกใบมะขาม ให้เป็นผึ้งเป็นต่อไล่ต่อยศัตรู หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ เหยียบน้ำทะเลจืด หลวงพ่อลี ฉันทโก วัดภูน้ำเกลี้ยง เสกของให้คนกินแล้วรักใคร่หลงใหลกัน หลวงพ่อเกลี้ยง เมตตาธิคุณ วัดตะกู ปืนยิงไม่ออก มีดฟันไม่เข้า และอาจารย์วัลลภ ธรรมบันดาล เรียกสาลิกา ลิ้นทอง ลงมาช่วยผู้คนให้มีเสน่ห์ เมตตามหานิยม ค้าขายดี มีโชคลาภได้ เป็นต้น 
 
ดูตามประวัติการปลุกเสกวัตถุมงคลของพระเกจิอาจารย์ดังๆ ในสมัยโบราณจะพบว่าท่านปลุกเสกเดี่ยวกันทั้งนั้น ปัจจุบันก็ยังมีพระเกจิอาจารย์ที่เคร่งครัด ถึงกับไม่ไปนั่งทำพิธีปลุกเสก รวมกับพระเกจิอาจารย์จำนวนมากๆที่ไหน เพระกลัวไปนั่งทำพิธีรวมกับพระเกจิอาจารย์บางรูป ที่อาบัติถึงขั้นปาราชิกไปแล้ว

คำยืนยัน

พระเกจิอาจารย์อย่างเช่น หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ หลวงปู่โง่น สรโย หลวงพ่ออุตมะ วัดวังวิเวการาม หลวงพ่อเกษม เขมโก หลวงพ่อลี ฉันทโก วัดภูน้าเกลี้ยง หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อแย้ม วัดตะเคียน ท่าน บอกว่า พระที่อาบัติถึงขั้นปาราชิกไปแล้ว ถ้าไปเข้าทำพิธีอะไร พิธีนั้น วัตถุมงคลนั้น พระเกจิ อาจารย์ในพิธีนั้น จะเสื่อมความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ตามไปด้วย 

พระเกจิอาจารย์ที่เคร่งครัดจริงๆ ท่านจึงพยายามหลีกเลี่ยงไม่เสี่ยงไปร่วมพิธีปลุกเสกใน งานที่มีพระเกจิอาจารย์จำนวนมากๆกัน 
 
เรื่องนี้จะจริงหรือไม่จริงไม่ทราบได้ แต่สังเกตดูการปลุกเสกในยุคปัจจุบัน ไม่ปรากฏความขลังและความศักดิ์สิทธิ์อะไร ให้ผู้คนพิสูจน์ได้เด่นชัดเหมือนในอดีต ดังนั้นพระกรุเก่าแก่ในชุดเบญจภาคีทุกองค์ ผ่านการปลุกเสกเดี่ยวโดยพระเกจิอาจารย์สมัยโบราณ ที่มีความขลังและความศักดิ์สิทธิ์จริงๆมาแล้ว จึงสมควรที่จะนำมาสะสมไว้เป็นสมบัติของลูกหลานต่อไป

พระนางพญาสร้างกันหลายวัด

การสร้างพระนางพญาในยุคขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้มีวัดอื่นๆอย่างเช่น วัดบ่อทองคำ วัดสุดสวาท ( วัดโพธิ์ ) กรุโรงทอ วัดวังวารี และวัดอื่นๆ ร่วมสร้างพระเครื่องแจกเป็นขวัญและกำลังใจแก่ทหารและประชาชนทั่วไปด้วย โดยยึดรูปแบบพระนางพญา วัดนางพญาเป็นหลัก ส่วนที่เหลือก็นำไปบรรจุไว้ในกรุของวัดใครวัดมัน จึงเป็นที่มาของพระนางพญากรุวัดต่างๆ พระนางพญาจึงไม่ใช่มีแต่เฉพาะของกรุวัดนางพญาดังที่เข้าใจกันเท่านั้น เมื่อ ใดที่เห็นพระนางพญา อย่ารีบด่วนสรุป ว่าเป็นพระเก๊ พระปลอม พระผิดพิมพ์ อายุการสร้างไม่ ถึง ควรดูให้แน่ใจ ว่าเป็นพระนางพญา วัดไหน กรุไหน ใครสร้างเสียก่อน การนำพระเครื่องไปทุบไปบดเพื่อดูยุคดูสมัยและอายุการสร้าง ถือเป็นความคิดที่ไม่ฉลาดเลย การจะดูยุค ดูสมัยและดูดินที่สร้างพระเครื่องนั้น เขาจะต้องไปขุดดินในบริเวณที่นำดินมาสร้างพระเครื่องนั้นๆ มาดู โดยขุดเป็นชั้นๆลงไป จนกว่าจะเจอเนื้อดินที่ตรงกับเนื้อพระทีจะดูจึงจะถูก ไม่ใช่ไปขุดดินตรง ไหนก็ได้มาดู
ถ้ากรุไหนถูกฝังลึกลงไปไต้ดินมากๆอาจไปตรงกับทางเดินของน้ำหรือแร่ธาตุต่างๆอย่าง เช่นแร่เหล็กพบได้ใน“พระรอด”กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ที่มีสนิมเหล็กเกาะกันหนาเป็นแผ่นเป็นต้น พระรอดดังกล่าวก็มีหลงไปบรรจุอยู่ในกรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก เมือครั้งที่ทหารและประชาชนนำกลับไปคืนวัดด้วยเช่นกัน อาจารย์วัลลภ ธรรมบันดาล ท่านก็ได้ไว้หลายองค์ ใครสนใจอยากได้ก็ไปปรึกษากันเอาเอง ที่ 083-2347117 www.ตำนานพระนางพญา.com

พระเก๊ พระปลอมยังไม่มี

ตามประวัติในสมัยทวารวดี, สมัยอู่ทอง, สมัยสุโขทัย, สมัยกรุงศรีอยุธยา ยังไม่มีการซื้อขายหรือให้เช่าพระเครื่องกัน ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงไม่มีความจำเป็น ที่จะต้องทำปลอมกันขึ้นมา เพิ่งจะเริ่มมีการซื้อขายตลอดทั้งทำปลอมและลักขโมยขุดเจาะพระพุทธรูปหรือสถูปเจดีย์เพื่อค้น หาพระเครื่องในสมัยกรุงรัตน์โกสินทร์นี่เอง 

จึงเป็นที่ยืนยันได้ว่า พระเครื่องในชุดเบญจภาคีสมัยทวารดี, สมัยอู่ทอง, สมัยสุโขทัยและสมัยกรุงศรีอยุธยา ( ไม่มีพระเก๊พระปลอมแน่นอน ) จะปลอมกันไปทำไม จะปลอมไปขายใคร สมัยโบราณแจกฟรีคนยังเอาไปคืนวัดกันหมด 

หากมีการทำปลอมกันขึ้นมาจริงๆ ก็เพิ่งจะมีการทำปลอมกันในสมัยกรุงรัตน์โกสินเป็นต้นมาเท่านั้น ดูเนื้อดินที่สร้าง ดูความเก่าแก่ทางธรรมชาติก็รู้ ดูได้ไม่ยากเลยว่าสร้างในยุคไหนสร้างใหม่หรือสร้างเก่า ถ้าใครเคยได้เห็นพระแท้ของจริงมาก่อน ก็จะรู้และดูออกทันที ว่าพระแท้หรือไม่แท้ ถ้าจะให้แน่ใจ ก็เอากล้องถ่ายรูปคุณภาพสูงๆมาถ่าย แล้วนำไปโหลด ลงคอมพิว เตอร์ขยายดูมวลสารและเนื้อดินที่สร้าง ก็เห็นหมดทุกแง่ ทุกมุม ทุกเม็ดไม่จำเป็นต้องไปล้างหรือทำลายความเก่าแก่ทางธรรมชาติที่ผ่านกาลเวลามานานนับร้อยปีพันปีทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย

วิธีดูพระนางพญามีดังนี้

  1. พิจารณาดู รูปทรงขององค์พระว่าเหมือนหลวงพ่อพระพุทธชินราชหรือไม่ 
  2. พิจารณาดู ว่าพระพิมพ์อะไร ใครเป็นผู้สร้าง พิจารณาดู ด้านข้างทั้งสามด้าน ว่ามีรอยขรุขระยุบตัวที่เกิดจากการใช้ตอกตัดแยกองค์พระออกจากกันชัดเจนหรือไม่ 
  3. พิจารณาดู เนื้อดินว่าหยาบหรือละเอียด 
  4. พิจารณาดู สีของเนื้อดินว่าเป็นสีธรรมชาติหรือสีย้อม 
  5. พิจารณาดู ว่ามีมวลสารประเภทเหล็กไหล เหล็กน้ำพี้ พระธาตุขาวขุ่น พระธาตุสีชมพู ทรายเงิน ทรายทอง หรือไม่ หากองค์ไหนมีมวลสารดังกล่าวปรากฏอยู่หลายชนิด ก็จะได้รับความสนใจและมีคุณค่าราคาสูงมากขึ้นเท่านั้น องค์ไหนมีมวลสารปรากฏให้เห็นน้อย คุณค่าและราคาก็น้อยตามไปด้วย ส่วนมวลสารประเภทเกสรดอกไม้ 108 ว่าน 108 จะถูกเผาเป็นเถ้าถ่านไม่มีเหลือไว้ให้เห็นนอกจากร่องรอยขรุขระยุบตัวด้านข้างองค์พระเท่านั้น เป็นเหตุทำให้มีการล้างองค์พระเพื่อดูมวลสาร ถึงกับยอมล้างและทำลายสภาพความเก่าแก่ทางธรรมชาติ ทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย แต่ถ้าองค์ไหนไม่มีมวลสารใดๆปรากฏอยู่เลย อาจเป็นพระนางพญาที่สร้างขึ้นในยุคขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชตอนปลาย ( สงครามใกล้สงบแล้ว ) หรือไม่ก็เป็นพระนางพญาวัดอื่น 
  6. พิจารณาดู โครงสร้างหลักขององค์พระว่ายังอยู่ครบหรือไม่
  7. พิจารณาดู พระพักตร์ ( หน้า ) ว่ามีรูปทรงใดบ้าง หน้ากลมเล็ก, หน้ากลมใหญ่, หน้ารูปไข่, หน้าสามเหลี่ยม, หน้าสามเหลี่ยมแก้มตอบ, หน้าสามเหลี่ยมฤาษี, เป็นต้น                                                                                                                                                                                                    
                                                                 
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง