4 กุมภาพันธ์ 2557

ตำนานพระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก ตอนที่ 2 (ปรับปรุงใหม่)



พระนางพญาที่สร้างขึ้นมี ๖ พิมพ์ด้วยกัน




จากซ้ายไปขวา: พิมพ์เข่าโค้ง สร้างในยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์,  พิมพ์เข่าโค้ง สร้างในยุคขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช,  พิมพ์เข่าตรง สร้างในยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์ 



 จากซ้ายไปขวา:  พิมพ์เข่าตรง สร้างในยุคขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช, พิมพ์สังฆาฏิ สร้างในยุคขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช,   พิมพ์อกนูนใหญ่ สร้างในยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์

* คลิกที่รูปเพื่อดูภาพขยาย


 แต่ละพิมพ์ สร้างขึ้นสามขนาดคือ  หนา – กลาง - บาง ดังนี้   



         หนา                                              กลาง                                             บาง


(ภาพชุดล่าง) จากซ้ายไปขวา: พิมพ์สังฆาฏิ ยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์, พิมพ์สังฆาฏิ ยุคขององค์สมเด็จพระนเรศวร,  พิมพ์อกนูนใหญ่  ยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์                                       

  1. พิมพ์เข่าโค้ง – หนา - กลาง – บาง อย่างละ 84,000 องค์
  2. พิมพ์เข่าตรง – หนา – กลาง – บาง อย่างละ 84,000 องค์ 
  3. พิมพ์สังฆาฏิ – หนา – กลาง – บาง อย่างละ 84,000 องค์
  4. พิมพ์อกนูนใหญ่ มีพิมพ์กลางพิมพ์เดียว 84,000 องค์
  5. พิมพ์อกนูนเล็ก มีพิมพ์กลางพิมพ์เดียว 84,000 องค์ 
  6. พิมพ์เทวดา มีพิมพ์กลางพิมพ์เดียว 84,000 องค์

ส่วนพิมพ์เข่าโค้ง จะมีสองพิมพ์ด้วยกันคือ พิมพ์เข่าโค้งหวายผ่าซีก  และพิมพ์เข่าโค้งวงพระจันทร์ หรือวงเล็บ ( โปรดสังเกตุให้ดี )

พิมพ์สังฆาฏิ สร้างในยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์และองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีพิมพ์กลางพิมพ์เดียว


สีขององค์พระมีดังนี้ คือ



สีดอกพิกุลแห้ง                           สีดำ                                สีดอกจำปี  


สีหัวไพรแห้ง                          สีขมิ้นชัน                              สีครกหิน


สีตับเป็ด                                   สีอิฐ                                   สีแดง



สีเขียวตากบ

พระนางพญามีเอกลักษณ์โดดเด่นไม่เหมือนใครคือ ใช้ตอกมุงหลังคาตัดด้านข้างทั้งสามด้าน อาจมีบางท่านสงสัยว่าทำไมจึงใช้ตอกตัด ทั้งๆที่ในสมัยนั้นก็มีมีดใช้แล้ว นั่นเป็นเคล็ดลับของพระเกจิอาจารย์ในสมัยนั้น ที่ต้องการตอกและตรึงเวทมนต์คาถาให้อยู่คู่กับพระนางพญาตลอดไป ไม่ต้องการให้ (ขอม) หรือใครมาแกล้งทำให้เสื่อมหรือคลายความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ไปได้ 

พระนางพญา กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก ( แท้ ) ด้านข้างทั้งสามด้าน ต้องมีรอยตอกตัดแยกองค์พระออกจากกันชัดเจน ฝีมือมนุษย์ไม่สามารถทำเทียมเลียนแบบความเก่าแก่ตามธรรมชาติได้ โดยเฉพาะเนื้อพระต้องแข็งและแกร่งเหมือนหิน หรือฟอสซิล ( Fossil ) 

การสร้างพระเครื่องแต่ละครั้งครูบาอาจารย์จะนิยมสร้างตามจำนวนพระธรรมขันธ์คือ 84.000 องค์เสมอ 

การจัดสร้างพระพิมพ์แต่ละครั้ง จะมีแม่พิมพ์หลายอัน แม่พิมพ์แต่ละอันพิมพ์ได้ครั้งละ 3 องค์ คือพิมพ์ออกมาติดกันสามองค์ แล้วนำมาตัดแยกออกด้วยตอกมุงหลังคา เนื่องจากในขณะนั้น อยู่ในระหว่างศึกสงคราม ต้องทำกันอย่างรีบร้อน ทำให้ส่วนต่างๆขององค์พระมีการผิดเพี้ยนไปบ้าง แต่สภาพโดยรวม ยังคงอยู่ในสภาพเดิมๆ พระในแม่พิมพ์เดียวกันทั้งสามองค์ จะไม่เหมือนกันเลย สภาพของดินที่นำมาสร้างพระ ก็มีส่วนทำให้การพิมพ์พระเครื่องนั้น คลาดเคลื่อน ผิดเพี้ยนไป เนื่องจากในขณะที่พิมพ์พระลงไปในแม่พิมพ์ใหม่ๆ ดินยังสดและชื้น แต่พอนำไปเผาไฟก็มีการหดตัวตามธรรมชาติ ทำให้รูปทรงต่างๆขององค์พระผิดเพี้ยนไป เช่นเบี้ยวไปบ้าง งอไปบ้าง แอ่นไปบ้าง มีเศษดินตกหล่นไปเป็นส่วนเกินบ้าง ขึ้นอยู่ที่อุณหภูมิของไฟที่เผา 

เนื้อดินที่นำมาสร้างพระเครื่องแต่ละยุคแต่ละสมัย ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ถึงแม้จะไปนำดินในที่เดียวกันกับดินที่สร้างพระเครื่อง เมื่อหลายร้อยปี มา สร้างใหม่อีกครั้ง เนื้อดินก็แตกต่างกันไปแล้ว ฝีมือมนุษย์ไม่สามารถทำเทียมเลียน แบบธรรมชาติที่ผ่านกาลเวลามานานๆได้ ฉะนั้นการสังเกตพระเครื่องเนื้อดินเผาว่า ใหม่หรือเก่า ก็ดูได้จากสีและเนื้อดินที่นำมาสร้าง 

หากท่านใดดูความแตกต่างระหว่างของเก่ากับของใหม่ ดินเผาเก่ากับดินเผาใหม่ไม่ออก ก็อย่าไปหวังว่า จะได้พระเครื่องแท้ของเก่าจริงๆไว้ครอบครอง การดูรูปทรงขององค์พระและดูตำหนิอย่างหนึ่งอย่างใดตายตัว จึงไม่ใช่เหตุผลที่จะนำมาตัดสินว่า เป็นพระแท้หรือไม่แท้ พระในแม่พิมพ์เดียวกันทั้งสามองค์ ก็ไม่เหมือนกัน แกะออกมาจากแม่พิมพ์เดียวกัน โดยบุคคลคนเดี่ยวกัน เวลาต่างกันไม่กี่นาที ก็ไม่เหมือนกันแล้ว การสร้างพระเครื่องจากแม่พิมพ์หลายอัน ทำโดยบุคคลหลายคน จะมีตำหนิเหมือนกัน ที่เดียวกันย่อมเป็นไปไม่ได้

ปกตินักนิยมสะสมของเก่าทั่วไป จะอนุรักษ์ล่องลอยความเก่าแก่ทางธรรมชาติ ไว้ให้อยู่ในสภาพเดิมๆ จะไม่ทำลายหลักฐานความเก่าแก่ตามกาล เวลาที่ผ่านมาทิ้งไปโดยเด็ดขาด ถ้าเป็นพระเครื่องก็ยิ่งจะรักษาสภาพ ความเก่าแก่ไว้เป็นหลักฐานในการสร้าง ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไปทำลายทิ้ง การเชื่อเหตุผลทางธรรมชาติ ย่อมดีกว่าเชื่อเหตุผลจากบุคคล เพราะธรรมชาติไม่เคยโกหกหลอกลวงใคร             

รูปพระนางพญาขนาดใกล้เคียงกับพระของจริง



                                           พิมพ์เข่าโค้ง                     พิมพ์เข่าโค้ง                    พิมพ์เข่าตรง

  พิมพ์เข่าตรง                     พิมพ์เข่าตรง                      พิมพ์เข่าตรง 


                                         พิมพ์สังฆาฏิ                          พิมพ์สังฆาฏิ                      พิมพ์สังฆาฏิ


                                                            พระรอด                                 พระซุ้มกอ



หลังจากองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพ เป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาแล้ว จึงหันมาพัฒนาวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดนางพญา วัดราชบูรณะ ที่พระราชบิดาและพระราชมารดาทรงสร้าง พร้อมทั้งสร้างพระเครื่องให้เป็นขวัญและกำลังใจแก่ ทหารที่ออกรบ ที่เหลือก็นำไปบรรจุไว้ในกรุทั้งสามวัด เพราะมีเขตขัณฑสีมาติดต่อกัน 



พระนางพญาทั้งสองยุค เมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน จะเห็นความแตกต่างระหว่าง รูปทรงขององค์พระและเนื้อดินที่สร้างได้ชัดเจน อายุการสร้างใกล้เคียงกัน มีพุทธคุณเหมือนกัน คือเน้นหนักในเรื่องแคล้วคลาด อยู่ยงคงกระพัน โชคลาภ ค้าขายดี มีเมตตามหานิยม ร่ำรวยไว และไม่มีวันยากจนเป็นหลัก 



(ซ้าย) พิมพ์เข่าโค้งสร้างในยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์ (ขวา) พิมพ์เข่าโค้งสร้างในยุคขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช


พิธีปลุกเสกใช้วิธีอัญเชิญเทพและเทวดา ฤาษี พระสงฆ์ผู้ทรงศีลและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในเมืองพิษณุโลก อันได้แก่หลวงพ่อพระพุทธชินราช เป็นต้น ปลุกเสกกันที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ 

การสร้างพระนางพญาในยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์และยุคขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้มีวัดอื่นๆร่วมจัดสร้างพระเครื่องแจกเป็นขวัญและกำลังใจแก่ทหารและประชาชนทั่วไปด้วย โดยยึดรูปแบบพระนางพญา วัดนางพญาเป็นหลัก 

ส่วนที่เหลือก็นำไปบรรจุไว้ในกรุของวัดนั้นๆ จึงเป็นที่มาของพระนางนางพญากรุวัดต่างๆ พระนางพญาจึงไม่ใช่มีแต่เฉพาะของกรุวัดนางพญาดังที่เข้าใจกันเท่านั้น  


ประสบการณ์


  
มีประสบการณ์เล่าต่อๆกันมาว่า ทหารขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหา ราชไปรบที่ไหน ก็ประสบชัยชนะที่นั่น เป็นที่หวั่นเกรงแก่พม่าในขณะนั้น ประสบการณ์ต่อมาคือ เมื่อครั้งที่ทหารไทยไปรบในสงครามอินโดจีน มีชัยชนะครั้งแล้วครั้งเล่า และอีกประสบการณ์หนึ่งคือ ทำให้บรรดาพ่อค้าและนักธุรกิจทำมาหากินเจริญรุ่งเรืองร่ำรวยเร็วมาถึงทุกวันนี้

นักสะสมพระเครื่อง นำพระนางพญามาจัดเข้าชุดเบญจภาคี (พุทธศิลป์ ) ศิลปะอยุธยาประเภทเนื้อดินเผาผสมมวลสาร พระธาตุเหล็กไหล เหล็กน้ำพี้ โพรงเหล็กไหล พระธาตุสีขาวขุ่น พระธาตุสีชมพู ผงถ่านใบลาน เกสรดอก ไม้ 108 ว่าน 108 น้ำมนต์ทิพย์ ดินมงคลตามสถานที่ต่างๆ ทรายเงิน ทรายทองและศาสตราวุธต่างๆ


ความหมายของมวลสารที่นำมาผสมในพระนางพญามีดังนี้



  1. พระธาตุเหล็กไหล  มีความสำคัญด้านคงกระพัน     
  2. เหล็กน้ำพี้ มีความสำคัญด้านแก้เคล็ดและความแข็งแกร่ง
  3. โพรงเหล็กไหล มีความสำคัญด้านคงกระพัน แคล้วคลาด
  4. พระธาตุสีขาวขุ่นและพระธาตุสีชมพู มีความสำคัญด้านสิริมงคลและแก้อาถรรพ์
  5. ผงถ่านใบลาน มีความสำคัญด้านอยู่ยงคงกระพัน
  6. เกสรดอกไม้ มีความสำคัญด้านเมตตามหานิยม
  7. ว่าน 108 มีความสำคัญทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพัน
  8. น้ำมนต์ทิพย์ มีความสำคัญทางด้านแก้เคล็ดและแก้อาถรรพ์
  9. ดินมงคลตามที่ต่างๆ  มีความสำคัญทางด้านสิริมงคล
  10. ทรายเงินทรายทอง มีความสำคัญทางด้านโชคลาภและเงินทอง 

ลักษณะพระนางพญาสร้างในยุคของ องค์พระวิสุทธิกษัตรีย์  มีดังนี้


ดูด้านข้างทั้งสามด้านจะต้องมีรอยตอกตัดแยกองค์พระออกจากกัน จนสามารถมองเห็นมวลสารประเภทเหล็กไหล  เหล็กน้ำพี้  พระธาตุสีขาวขุ่น  ทรายเงิน  ทรายทอง  และร่องลอยของเกสรดอกไม้ 108 ว่าน 108 ที่ถูกเผาเป็นเถ้าถ่านไปแล้ว  เหลือไว้แต่รูพรุนๆคล้ายพระผุ  ด้านหลังขององค์พระบางองค์ จะมีรอยนิ้วมือของพระหรือครูบาอาจารย์ปรากฏอยู่ หากท่านใดพูดว่าพระนาง พญาที่นำมาให้ชมนี้  เป็นพระใหม่  พระเก๊  พระปลอม  พระผิดพิมพ์  อายุการสร้างไม่ถึง ช่วยอธิบายให้เป็นวิทยาทานแก่ผู้สนใจด้วย  ว่าร่องรอยดังต่อไปนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร 


ด้านข้างขนาดใกล้เคียงกับองค์พระของจริง