25 เมษายน 2558

ตำนานพระนางพญา (ฉบับสมบูรณ์) 3/12




อนุรักษ์ความเก่าแก่

ปกตินักนิยมสะสมของเก่าทั่วไป จะอนุรักษ์ร่องรอยความเก่าแก่ทางธรรมชาติไว้ให้อยู่ในสภาพเดิมๆ จะไม่ทำลายหลักฐานความเก่าแก่ตามกาลเวลาที่ผ่านมาทิ้งไปโดยเด็ดขาด ถ้าจะดูพระแท้หรือไม่แท้ ดูจากสภาพของความเก่าแก่ตามธรรมชาติน่าเชื่อถือกว่า ยิ่งเป็นพระเครื่องก็ยิ่งควรจะรักษาสภาพความเก่าแก่ไว้เป็นหลักฐานในการสร้าง ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไปล้างหรือทำลายทิ้ง ต่อจากนั้นจึงดูรูปทรงขององค์พระว่าสร้างในยุคใด สมัยไหน ใครเป็นผู้สร้าง

ข้อมูลทางการศึกษา

ตำนานพระนางพญานี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาหาข้อมูล เกี่ยวกับประวัติและความเป็นมาของพระนางพญา พระเครื่องสำคัญในชุดเบญจภาคีโดยเฉพาะ จุดประสงค์ของผู้จัดทำต้องการเสนอข้อมูลทางวิชาการแก่ผู้ที่สนใจศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพระนางพญาว่ามีประวัติและความเป็นมาอย่างไร มีหลักเกณฑ์ในการดูอย่างไร เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก เป็นอย่างยิ่ง เพราะมุ่งเน้นประ วัติและศิลปะการสร้างตลอดทั้งดูมวลสารและความแข็งแกร่งของเนื้อพระเป็นหลัก 

พระชุดเบญจภาคี

ที่มาของพระชุดเบญจภาคี มีดังนี้ เบญจแปลว่า ๕ ภาคีแปลว่า พวกหรือผู้มีส่วนร่วม การนำพระเครื่องสำคัญๆ ๕ องค์มารวมกันเป็นชุดจึงเรียก ว่า เบญจภาคี

ชุดที่ ๑ ได้แก่พระเครื่องสำคัญๆดังนี้

  • พระรอด จังหวัดลำพูน 
  • พระผงสุพรรณ จังหวัดสุพรรณบุรี 
  • พระซุ้มกอ จังหวัดกำแพงเพชร 
  • พระนางพญา จังหวัดพิษณุโลก 
  • พระสมเด็จวัดระฆัง จังหวัดกรุงเทพฯ 


พระรอด กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน สร้างในสมัยทวารวดี ปี พ.ศ 1200          



พระผงสุพรรณ จ.สุพรรณบุรี สร้างในสมัยอู่ทอง




พระซุ้มกอ  กรุวัดพิกุล   จังหวัดกำแพงเพชร สร้างในสมัยสุโขทัย  




พระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา   




พระสมเด็จวัดระฆัง กรุงเทพฯ สร้างในสมัยกรุงรัตน์โกสินทร์ 




พระสมเด็จบางขุนพรหม  จ.กรุงเทพฯ สร้างในสมัยกรุงรัตน์โกสินทร์ 


ชุดที่ ๒ ได้แก่สิ่งศักดิ์สิทธ์ ๕ สมัย

  • สมัยทวารวดี ( พระรอด )
  • สมัยอู่ทอง ( พระผงสุพรรณ )
  • สมัยสุโขทัย ( พระซุ้มกอ )
  • สมัยอยุธยา ( พระนางพญา )
  • สมัยรัตน์โกสินทร์ ( พระสมเด็จวัดระฆัง )




เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง