รูปทรงโครงสร้างพระพักตร์ ( ใบหน้า )
พระนางพญา กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก สร้างในยุคของ องค์พระวิสุทธิกษัตรีย์ แต่ละพิมพ์มีมาตรฐานตายตัวดังนี้
พระพักตร์ ( ใบหน้า ) รูปกลม
พระพักตร์ ( ใบหน้า ) รูปไข่
พระพักตร์ ( ใบหน้า ) สามเหลี่ยมแก้มตอบ ดูช่องว่างข้างใบหูซ้ายมือ
พระพักตร์ ( ใบหน้า ) สามเหลี่ยมคางหมู ดูที่คางไม่เลียวแหลมมากนัก
พระพักตร์ ( ใบหน้า ) สามเหลี่ยมฤาษี ดูที่คางเรียวแหลมเล็กลง
พระพักตร์ ( ใบหน้า ) พิมพ์เข่าโค้ง ยุคขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ( ยุคอินโดจีน ) สังเกตให้ดีมีดวงตาโปนออกมา
พระพักตร์ ( ใบหน้า ) พิมพ์สังฆาฏิ ยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์
พระพักตร์ ( ใบหน้า ) สังฆาฏิ ยุคขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ประสบการณ์
มีประสบการณ์เล่าต่อๆกันมาว่า ทหารขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหา ราชไปรบที่ไหน ก็ประสบชัยชนะที่นั่น เป็นที่หวั่นเกรงแก่พม่าในขณะนั้น ประสบการณ์ต่อมาคือ เมื่อครั้งที่ ทหารไทยไปรบในสงครามอินโดจีน มีชัยชนะครั้งแล้วครั้งเล่า และอีกประสบการณ์หนึ่งคือ ทำให้บรรดาพ่อค้าและนักธุรกิจทำมาหากินเจริญรุ่งเรืองร่ำรวยเร็วมาถึงทุกวันนี้
มวลสารที่ผสมอยู่ในองค์พระนางพญา มีดังนี้
นักสะสมพระเครื่อง นำพระนางพญามาจัดเข้าชุดเบญจภาคี (พุทธศิลป์ ) ศิลปะอยุธยาประเภทเนื้อดินเผาผสมมวลสาร พระธาตุเหล็กไหล เหล็กน้ำพี้ โพรงเหล็กไหล พระธาตุสี ขาวขุ่น พระธาตุสีชมพู ผงถ่านใบลาน เกสรดอก ไม้ 108 ว่าน 108 น้ำมนต์ทิพย์ ดินมงคลตามสถานที่ต่างๆ ทรายเงินทรายทองและ ( ขี้เหล็ก ) ศาสตราวุธอย่างเช่น มีด หอก ดาบที่ลงเลขยันต์แล้วเป็นต้น
ความหมายของมวลสารที่นำมาผสมในองค์พระนางพญามีดังนี้
- พระธาตุเหล็กไหล มีความสำคัญทางด้านแคล้วคลาด ชนะอุปสรรค์ ชนะศัตรู
- เหล็กน้ำพี้ มีความสำคัญด้านแก้เคล็ดและความแข็งแกร่ง
- โพรงเหล็กไหล มีความสำคัญทางด้านแคล้วคลาด ปลอดภัย
- พระธาตุสีขาวขุ่นและพระธาตุสีชมพู มีความสำคัญด้านสิริมงคลและแก้อาถรรพ์
- ผงถ่านใบลาน มีความสำคัญด้านแคล้วคลาด ปลอดภัย
- เกสรดอกไม้ 108 มีความสำคัญด้านเมตตามหานิยม
- ว่าน 108 มีความสำคัญทางด้านแคล้วคลาด ปลอดภัย ชนะอุปสรรค์ ชนะศัตรู
- น้ำมนต์ทิพย์ และศาสตราวุธ มีความสำคัญทางด้านแก้เคล็ด และแก้อาถรรพ์ต่างๆ
- ดินมงคลตามที่ต่างๆ มีความสำคัญทางด้านสิริมงคล โชคลาภต่างๆ
- ทรายเงินทรายทอง มีความสำคัญทางด้านโชคลาภและเงินทอง
ลักษณะพระนางพญาสร้างในยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์ มีดังนี้
ดูด้านข้างทั้งสามด้านจะต้องมีรอยตอกตัดแยกองค์พระออกจากกัน จนสามารถมองเห็นมวลสารประเภทเหล็กไหล เหล็กน้ำพี้ พระธาตุสีขาวขุ่น ทรายเงิน ทรายทอง และร่องลอยของเกสรดอกไม้ 108 ว่าน 108 ที่ถูกเผาเป็นเถ้าถ่านไปแล้ว เหลือไว้แต่รูพรุนๆคล้ายพระผุ ด้านหลังขององค์พระบางองค์ จะมีรอยนิ้วมือของพระหรือครูบาอาจารย์ปรากฏอยู่
หากท่านใดพูดว่าพระนาง พญาที่นำมาให้ชมนี้ เป็นพระใหม่ พระเก๊ พระปลอม พระผิดพิมพ์ อายุการสร้างไม่ถึง ช่วยอธิบายให้เป็นวิทยาทานแก่ผู้สนใจด้วยว่า ร่องรอยขรุขระยุบ ตัวด้านข้างนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
ลักษณะการตัดด้านข้าง
พระนางพญายุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์ จะมีรอยขรุขระยุบตัวด้านข้างในลักษณะนี้ ฝีมือมนุษย์ไม่สามารถ ทำเทียมเลียนแบบความเก่าแก่ทางธรรมชาติที่ผ่านกาลเวลามานานนับร้อยปีได้
ลักษณะการตัดด้านข้าง
พระนางพญายุคขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตอนขึ้นครองราชย์สมัยแรกเรียกกัน ว่า ยุคอินโดจีน สภาพการตัดด้านข้างดูธรรมดาๆ “ตาโปน” มีราเขียว ราดำ ตลอดทั้งขี้ตะใคร่ที่เกิดจากไอน้ำและความชื้นเกาะกันเป็นแผ่นหนา บอกถึงกาลเวลาว่าสร้างต่อจากยุคของ องค์พระวิสุทธิ์กษัตรีย์ มาถึงยุคสงครามใกล้สงบได้มีการสร้างพระนางพญาขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง จึงไม่ปรากฏร่องรอยความเก่าแก่ทางธรรมชาติและมวลสารใดๆมากนัก สรุปว่าพระนางพญายุคขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชมีการสร้างกันถึงสองครั้ง เนื้อดินที่นำมาสร้างก็แตกต่างกันมาก
มีคนตั้งข้อสงสัยกันมาก
มีคนตั้งข้อสงสัยกันมากว่า พระนางพญาที่สร้างในยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์ เกิดรอยขรุขระยุบตัวด้านข้างได้อย่างไร พระและคนเฒ่าคนแก่ท่านอธิบายบอกไว้ว่า ร่องรอยขรุขระยุบตัวด้าน ข้างขององค์พระนางพญานั้น เกิดจากมวลสารประเภทดอกไม้ 108 ว่าน 108 เหล็กไหล เหล็กน้ำพี้ และศาสตราวุธ ที่ถูกไฟเผาหลอมละลายหลุดออกไป เหลือไว้แต่รอยขรุขระยุบตัวดังที่ปรากฏ ร่องรอยดังกล่าวจะไม่มีซ้ำกันเลยแม้แต่องค์เดียว
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง