4 กุมภาพันธ์ 2557

ตำนานพระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก ตอนที่ 4 (ปรับปรุงใหม่)



พระนางพญากรุมี ๓ กลุ่มดังนี้


กลุ่มที่ ๑ กลุ่มพระที่ถูกบรรจุไว้ในไห ฝังอยู่เหนือพื้นดิน เนื้อพระจะแห้ง
กลุ่มที่ ๒ กลุ่มพระที่ถูกบรรจุไว้ในไห ฝังอยู่ต่ำกว่าพื้นดิน เนื้อพระจะมีราเขียว ราดำ และขี้ตะใคร่ที่เกิดจากไอน้ำและความชื้นตกผลึกฝังลึกลงไปในเนื้อพระ
กลุ่มที่ ๓ กลุ่มพระที่อยู่นอกไห ( ไหแตก ) จะมีเศษอิฐหินดินทรายเกาะแน่น


การดูพระกรุและพระเก่าโดยเฉพาะพระนางพญา


1. พระนางพญาแท้รุ่นที่พระวิสุทธิกษัตริย์สร้าง รูปทรงขององค์พระจะมีลักษณะแข็งๆ หมายถึงไม่มีลายละเอียด เช่นไม่มีตา ไม่มีจมูก ไม่มีปาก ดูแล้วไม่สวยงามอ่อนช้อย เพราะพิมพ์จากแม่พิมพ์ที่แกะโดยช่างฝีมือระดับชาวบ้าน แต่ก็ยึดรูปแบบหลวงพ่อพระพุทธชินราชเป็นหลัก 

2. พระนางพญาที่บรรจุอยู่ในกรุหรือไหดินเผา ถึงจะมีอายุเก่าแก่เป็นร้อยปีพันปี ควรมีสภาพสมบูรณ์และ คมชัดทั้งด้านหน้าด้านหลัง ไม่ควรสึกกร่อนใดๆปรากฏ เพราะไม่เคยถูกใช้งานมาก่อน 

3. หากพบพระกรุหรือพระเก่า อยู่ในสภาพสมบูรณ์ แต่ไม่มีคราบขี้กรุตลอดทั้งราดำหรือราเขียวๆปรากฏ ก็ลองเอาแปลงสีฟันขัดถูเอาเศษดินทรายที่องค์พระออก ถ้ามองดูแล้วเหมือนอิฐที่ผ่านการเผามาใหม่ๆ ก็ให้สงสัยไว้ก่อนว่า เป็นพระใหม่ เป็นไปไม่ได้ที่พระกรุพระเก่าแก่มีอายุเป็นร้อยปีพันปี จะไม่มีร่องรอยของการผุกร่อนตลอดทั้งคราบขี้ตะใคร่หรือราเขียวราดำปรากฏให้เห็นตามธรรมชาติ

4. พระนางพญาที่ผ่านการใช้งานมาแล้วควรจะมีสภาพสึกกร่อนด้านหลังมาก กว่าด้านหน้า หากพบว่าด้านหน้าสึกกร่อนมากกว่าด้านหลัง นั่นแสดงว่าพระใหม่ไม่ใช่พระเก่าหรือพระกรุแน่นอน ในระหว่างการใช้งานด้านหลังย่อมถูไถไปมากับหน้าอกมากกว่าด้านหน้า ด้านหลังจึงควรจะมีการสึกกร่อนมากกว่าด้านหน้า เนื่องจากสมัยโบราญ การแขวนสร้อยห้อยพระเครื่องจะนิยมถักด้วยลวดทองแดงเป็นตาข่ายไขว้ไปไขว้มา ยังไม่มีการใส่กรอบมิดชิดเหมือนสมัยปัจจุบัน

5. ดูความหนาแน่นของเนื้อพระ ถ้าเป็นพระเก่ามีอายุเป็นร้อยๆปี ไม่ว่าจะเป็นเนื้อดินหรือเนื้อปูนจะมีสภาพแน่นและแข็งแกร่งมากๆ เมื่อขัดถูเอาเศษอิฐหินดินทรายออกจากเนื้อพระดินเผาของแท้ ควรขึ้นเงาคล้ายเอาน้ำมันไปทาหรือชะโรมไว้ หากมีมวลสารและส่วนผสมของผงใบลานและดอกไม้มากๆ เนื้อพระควรจะมีสภาพเป็นรูพรุนเหมือนดินผุๆ มองเห็นมวลสารและแร่ธาตุต่างๆได้ชัดเจน



พระที่อยู่ในกรุบรรจุอยู่ต่ำกว่าพื้นดิน จะมีราเขียวหรือราดำและคราบขี้ตะใคร่ที่เกิดจากไอน้ำหรือความชื้นปรากฏ สีสันของเนื้อพระจะแตกต่างจากพระที่บรรจุอยู่ในกรุเหนือกว่าพื้นดินเห็นได้ชัด                

                    

ขอย้ำ การดูพระกรุพระเก่าแก่ อายุเป็นร้อยๆปี ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ องค์ไหนถูกบรรจุอยู่ในกรุฝังต่ำกว่าพื้นดินจะมีความอับชื้นมาก ย่อมมีคราบขี้ตะใคร่ที่เกิดจากไอน้ำหรือความชื้นตกผลึกฝังลึกลงไปในเนื้อพระ บางองค์จะเห็นเกาะกันเป็นแผ่นเลยก็มี        



ส่วนองค์ที่ถูกบรรจุอยู่ ในกรุฝังอยู่เหนือพื้นดิน จะไม่มีความอับชื้น ทำให้เกิดขี้ตะใคร่หรือราเขียวราดำแต่อย่างไร การดูพระเครื่องไม่ว่าจะเป็นพระใหม่หรือพระเก่า จะไปดูรูปทรงขององค์พระและตำหนิต่างๆเป็นเกณฑ์ตาย ตัวไม่ได้ เพราะรูปทรงขององค์พระทำปลอมกันได้ง่ายมาก 

การดูรูปทรงองค์พระและตำหนิอย่างหนึ่งอย่างใดตายตัว จึงไม่ใช่เหตุผลที่จะนำมาตัดสิน ว่าเป็นพระแท้หรือไม่แท้ เพราะพระในแม่พิมพ์เดียวกันทั้งสามองค์นั้นไม่เหมือนกันอยู่แล้ว ถึงจะแกะออกมาจากแม่พิมพ์เดียวกันโดยบุค คลคนเดี่ยวกันก็ไม่เหมือนกัน การสร้างพระเครื่องจากแม่พิมพ์หลายอันทำโดย บุคคลหลายคน จะมีตำหนิเหมือนกัน ที่เดียวกัน ย่อมเป็นไปไม่ได้ 


สิ่งที่น่าสนใจนำมาพิจารณาคือ พักตร์และสังฆาฏิ 


พระนางพญา กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก มีหลายพิมพ์ แต่ละพิมพ์จะมีพระพักตร์แตกต่างกันไปดังนี้คือ


                                         พระพักตร์ 3 เหลี่ยม หน้าฤาษี                      พระพักตร์กลมใหญ่ 


                                                 พระพักตร์กลมเล็ก                                พระพักตร์รูปไข่

พระนางพญา กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก มีหลายพิมพ์ แต่ละพิมพ์ มีสังฆาฏิแตกต่างกันดังนี้คือ


  1. บางพิมพ์ มีสังฆาฏิเด่นชัด 
  2. บางพิมพ์ ไม่มีสังฆาฏิปรากฏเลย 

พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้งมี 3 พิมพ์ดังนี้คือ


  1. พิมพ์เข่าโค้ง หวายผ่าซีก
  2. พิมพ์เข่าโค้ง เส้นด้าย
  3. พิมพ์เข่าโค้งวงพระจันทร์

ความเห็นที่นำมาเสนอนี้เป็นเพียงเหตุผลที่ควรจะเป็นเท่านั้น หากนำมาพิจารณาประกอบด้วย ก็จะช่วยทำให้ไม่ถูกหลอกหรือถูกต้มได้ ผู้จัดทำไม่มีเจตนาเข้าข้างใคร เพราะไม่ได้หวังผลประโยชน์อะไรในการให้เช่าพระเครื่อง ที่ทำไปก็เพื่อบอกเล่าประสบการณ์ให้ผู้ที่สนใจในพระเครื่อง ได้ศึกษาหาความ รู้กันเท่านั้น พระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก ที่ปู่บุญมอบให้หมอบุญมีไปนั้น ปัจจุบันทราบว่าได้ตกไปอยู่ในการครอบครอง ของอาจารย์วัลลภ ธรรมบันดาล ลูกชายคนโตของหมอบุญมีไปทั้งหมดแล้ว หลังจากอาจารย์วัลลภ ธรรมบันดาล ท่านได้รับพระนางพญาจากหมอบุญมีไปแล้ว ท่านก็นำไปมอบต่อให้กับลูกหลานของท่านเกือบหมด 

พระนางพญาที่นำมาโชว์ให้ดูเป็นบุญตาทั้งหมดนี้มีร้อยละ 70% เจ้าของพระรักและหวงแหนมากไม่ประสงค์ที่จะให้ผู้ใดเช่าต้องการโชว์ให้ชมเพื่อการศึกษาเท่านั้น อีก 30% หากท่านใดสนใจอยากได้องค์ไหน ต้องติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจาก อาจารย์วัลลภ ธรรมบันดาล ผู้เปิดตำนานพระนาง พญานี้ก่อน 

พระหลงกรุ 


เนื่องจากคนในสมัยโบราณ ไม่นิยมนำสิ่งของที่เป็นของวัดเข้าบ้าน เพราะกลัวบาปและไม่เป็นมงคล หลังจากเสร็จศึกสงครามแล้ว ทหารและประชาชนที่ได้รับแจกพระเครื่องจากวัดต่างๆไปป้องกันตัว ก็พากันนำกลับ ไปคืนวัด ใครอยู่ใกล้วัดไหนก็นำกลับคืนวัดนั้น โดยไม่เจาะจงว่าตอนรับจะ ไปรับมาจากวัดไหน 

ในสมัยนั้นยังไม่มีการซื้อขายพระเครื่องกัน เมื่อทางวัดได้รับพระเครื่องคืนจากทหารและประชาชนแล้ว ก็นำไปบรรจุไว้ในสถูปเจดีย์และไต้ฐานพระ พุทธรูปหมด ถึงยุคกรุงรัตนโกสินพระนางพญาหายากมาก ส่งผลทำให้มีการปลอมแปลงและขโมยขุดเจาะตามวัดต่างๆกันมากขึ้น 

ในกรุวัดนางพญาก็มีพระเครื่องจากวัดอื่นๆมาบรรจุรวมอยู่ด้วยไม่น้อย อย่างเช่นพระซุ้มกอ พระทุ่งเศษรฐี ลีลาเม็ดขนุน กรุวัดพิกุล จ.กำแพงเพชร พระรอด วัดมหาวัน จ.ลำพูน และหลวงพ่อโต วัดชีผ้าขาวหาย เป็นต้น พระหลงกรุดังกล่าวได้รับความสนใจจากนักสะสมกันมากเพราะมีความเชื่อกันว่าเป็นพระแท้ของจริง
      

*** จบ ***