4 กุมภาพันธ์ 2557

ตำนานพระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก ตอนที่ 1 (ปรับปรุงใหม่)




ตำนานพระนางพญานี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับประวัติและความเป็นมาของพระนางพญา พระเครื่องสำคัญในชุดเบญ จภาคีโดยเฉพาะ  จุดประสงค์ของผู้จัดทำ ต้องการเสนอข้อมูลทางวิชาการแก่ผู้ที่สนใจศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพระนางพญา ว่ามีประวัติและความเป็นมาอย่าง ไร  มีหลักเกณฑ์ในการดูอย่างไร  เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาหาความรู้เกี่ยว กับพระนางพญา  กรุวัดนางพญา  จังหวัดพิษณุโลก  เป็นอย่างยิ่ง  เพราะมุ่งเน้นประวัติและศิลปะการสร้างตลอดทั้งดูมวลสารและความแข็งแกร่งของเนื้อพระเป็นหลัก

ที่มาของพระชุดเบญจภาคี  มีดังนี้   เบญจแปลว่า ๕   ภาคีแปลว่า พวกหรือผู้มีส่วนร่วม  การนำพระเครื่องสำคัญๆ ๕  องค์มารวมกันเป็นชุดจึงเรียก ว่า เบญจภาคี

ชุดที่ ๑ ได้แก่พระเครื่องสำคัญๆ ดังนี้





พระสมเด็จวัดระฆัง       จังหวัดกรุงเทพฯ
พระผงสุพรรณ             จังหวัดสุพรรณบุรี
พระรอดวัดมหาวัน       จังหวัดลำพูน
พระนางพญา                จังหวัดพิษณุโลก
พระซุ้มกอ                   จังหวัดกำแพงเพชร

ชุดที่ ๒ ได้แก่สิ่งศักดิ์สิทธ์ ๕ สมัย


สมัยทวารวดี ( พระรอด )
สมัยอู่ทอง ( พระผงสุพรรณ )
สมัยสุโขทัย ( พระซุ้มกอ )
สมัยอยุธยา ( พระนางพญา )
สมัยรัตนโกสินทร์ ( พระสมเด็จวัดระฆัง )




จากหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์พบว่า วัดนางพญาสร้างโดยกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาคือ พระวิสุทธิกษัตรีย์ เป็นพระราชธิดาท้าวศรีสุริโยทัยและเป็นพระมารดาขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช



วัดราชบูรณะ

ส่วนผู้สร้างวัดราชบูรณะคือ พระมหาธรรมราชา จากเหตุการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นอยู่ในระหว่าง ศึกสงครามถูกพม่ารุกราน จึงมีการสร้างพระเครื่องมอบให้เป็นขวัญและกำลังใจแก่ทหารที่ออกรบ โดยยึดรูปแบบหลวงพ่อพระพุทธชินราชเป็นหลัก การทำแม่พิมพ์ก็ทำกันแบบรีบร้อนคือ พิมพ์ได้ครั้งละ 3 องค์ แล้วนำไปตัดแยกออกด้วยตอกมุงหลังคา ไม่มีแม้แต่เวลาที่จะเคลือบหรือลงรักเพื่อรักษาผิวเนื้อพระให้สวยงามและเหนียวแน่นคงทนได้ครบหมดทุกองค์ โดยใช้ชื่อว่า (พระนางพญา ) หมายถึงกษัตรีย์ผู้ครองเมืองที่เป็นสตรีเพศ 

ในยุคเดียวกันนี้ มีการสร้างพระนางพญาพิมพ์อกนูนใหญ่และอกนูนเล็กเพิ่มขึ้นอีกสองพิมพ์ มีเอกลักษณ์แปลกตาไม่เหมือนใคร เป็นพระเครื่องที่สร้างขึ้นเพื่อสรรเสริญวีรกรรมของพระศรีสุริโยทัย ดังมีเรื่องเล่าไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทยเมื่อครั้งที่พม่ายกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา เนื่องด้วยสมเด็จพระศรีสุริโยทัย สืบเชื้อสายมาจากราชวงษ์พระร่วง ดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ  ในขณะที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองราชย์ สมบัติกรุงศรีอยุธยาต่อจาก ขุนวรวงศาธิราชได้เพียง 7  เดือน  เมื่อปี พ.ศ  2091   พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ และมหาอุปราชาบุเรงนอง ยกกองทัพพม่าเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก โดยเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี และ ตั้งค่ายล้อมพระนครศรีอยุธยาไว้ 




การศึกครั้งนั้น เป็นที่เลื่องลือถึงวีรกรรมของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ซึ่งไสช้างพระที่นั่งเข้าขวางพระเจ้าแปร ด้วยเกรงว่าสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชสวามีจะเป็นอันตราย จนถูกพระแสงของ้าว ฟันพระอังสาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง เพื่อปกป้องพระราชสวามีไว้ เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 ปีจุลศักราช 910 ตรงกับวันเดือนปีทางสุริยคติคือ วันที่ 3 กุมภา พันธ์ พ.ศ 2092 

วันนั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงตัดสินพระทัย ยกทัพออกนอกพระนครเพื่อเป็นการบำรุงขวัญทหารและทอดพระเนตรจำนวนข้าศึก สมเด็จพระศรีสุริโยทัย พร้อมกับพระราชโอรส พระราชธิดา 4 พระองค์ ได้เสด็จติดตามไปด้วย โดยพระองค์ทรงแต่งกายอย่างมหาอุปราช ครั้นยกกองทัพออกไปบริ เวณทุ่งภูเขาทอง กองทัพอยุธยาปะทะกับกองทัพพระเจ้าแปร ซึ่งเป็นทัพหน้าของพม่า ช้างทรงของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเกิดเสียทีหันหลังหนีจากข้าศึก พระเจ้าแปรก็ทรงขับช้างไล่ตามมาอย่างกระชั้นชิด สมเด็จพระศรีสุริโยทัยทอด พระเนตรเห็นพระราชสวามีกำลังอยู่ในอันตราย จึงรีบขับช้างเข้าขวางพระเจ้าแปร ทำให้ไม่สามารถติดตามตอไปได้ พระเจ้าแปรจึงทำยุทธหัตถีกับ สมเด็จพระศรีสุริโยทัย เนื่องจากสมเด็จพระศรีสุริโยทัยอยู่ในลักษณะเสียเปรียบ ช้างของพระเจ้าแปร ได้เสยช้างของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย จนเท้าหน้าทั้งสองลอย พ้นพื้นดิน แล้วพระเจ้าแปรจึงฟันสมเด็จพระศรีสุริโยทัย จากพระพาหาขาดถึงกลางพระองค์ เสด็จสวรรคตเช่นเดียวกับพระราชธิดา คือพระบรมดิลก บนช้างเชือกเดียวกัน 

เมื่อสงครามยุติลง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ได้ทรงปลงพระศพของพระนาง และสถาปนาสถานที่ปลงพระศพขึ้นเป็นวัด ขนานนามว่า วัดสบสวรรค์ หรือวัดสวนหลวงสบสวรรค์



วัดสวนหลวงสบสวรรค์

สมเด็จพระศรีสุริโยทัย มีพระราชโอรส – พระราชธิดา 5 พระองค์ เรียงตามลำดับดังนี้

  • พระราเมศวร พระราชโอรสองค์โต ถูกจับเป็นองค์ประกันแก่พม่า และสิ้นพระชนม์ในระหว่างไปหงสาวดี
  • พระมหินทร์ พระราชโอรสองค์รอง ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระมหินทราธิราช กษัตริองค์สุดท้ายก่อนเสียกรุงศรีอยุทธยาครั้งที่ 1 ใน พ.ศ. 2112 
  • พระสวัสดิราช พระราชธิดา ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระวิสุธิกษัตรีย์ อัครมเหสีในสม เด็จพระมหาธรรมราชา และเป็นพระชนนีของพระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระเอกาทศรถ
  • พระบรมดิลก พระราชธิดา เสียพระชนม์ชีพพร้อมพระมารดาในสง ครามคราวเสียพระศรีสุริโยทัย 
  • พระเทพกษัตรี พระราชธิดา ภายหลังถูกส่งตัวถวายแด่พระไชยเชษฐาแห่งอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งระหว่างการเดินทางถึงชายแดนสยามประเทศพระนางถูกพระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์แห่งพม่าทำการชิงตัวไปยังกรุงหงสาวดี



ในการสร้างพระนางพญาพิมพ์อกนูนใหญ่และอกนูนเล็ก ก็เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระศรีสุริโยทัยและพระบรมดิลก พระราชธิดาที่สิ้นพระชนม์ชีพพร้อมพระมารดาในสงครามคราวเดียวกัน โดยมีรูปทรงแปลกตา บ่งบอกถึงสตรีเพศคือ อกนูนใหญ่ คงหมายถึงพระศรีสุริโยทัย และอกนูนเล็ก คงหมายถึง พระบรมดิลก พระราชธิดา 

พระเครื่องทั้งสองพิมพ์นี้สร้างจำนวนน้อย ทำให้มีการเสาะแสวงหาไว้ครอบครองกันมากไม่แพ้พระนางพญาพิมพ์อื่นๆ ด้วยความจงรักภักดีที่องค์สม เด็จพระศรีสุริโยทัย ยอมเสียสละได้แม้กระทั่งพระชนม์ชีพ ส่งผลทำให้พระนางพญาพิมพ์อกนูนใหญ่ มีความขลังและศักดิ์สิทธิ์ โดดเด่นไปในทางส่งเสริมให้มีตำแหน่งหน้าที่การงานดีขึ้น มีโชคมีลาภและค้าขายร่ำรวยเร็ว ใครเห็นใครรักพักดีมั่นคง (เสน่ห์แรง) เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการตำแหน่งหน้าที่การงานสูงส่งและให้คนรักภักดีตลอดไป