25 เมษายน 2558

ตำนานพระนางพญา (ฉบับสมบูรณ์) 1/12


บทความและภาพถ่ายในตำนานพระนางพญานี้ ได้จดลิขสิทธิ์แล้ว ห้ามไม่ให้ผู้ใดคัดลอกหรือดัดแปลงส่วนหนึ่งส่วนใด ไปใช้เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจโดยเด็ดขาด หากพบเห็นจะดำเนิน คดีตามกฎหมายถึงที่สุด (อนุญาตให้นำไปเผยแพร่เพื่อการศึกษาได้)





"องค์ปฏิมา พระนางพญา อาราธนาณัง องค์ปฏิมาสังฆ์ อาราธนาณัง 
โอมเทวาสรรพเทวา อาราธนาณัง พุทธังประสิทธิ ธัมมังประสิทธิ 
สังฆังประสิทธิ ประสิทธิลาโภ มหาลาโภ ภะวันตุเม นะดี โมดี 
 ดีทุกอย่าง นะ นะ นะ"




พระบรมครูพ่อปู่ฤาษี ชีผ้าขาว
                          
ตามตำนานเล่าว่า พระอินทร์แปลงร่างเป็นฤาษี หรือตาผ้าขาว มาร่วมสร้างหลวงพ่อพระพุทธชินราชจนสำเร็จเสร็จสมบูรณ์    จากนั้นก็เดินหายไปทางหลังวัด    ชาวบ้านออกตามหาเท่า ไหร่ๆก็ไม่มีใครพบ ต่อมามีการสร้างวัดบริเวณที่ตาผ้าขาวหายตัวไป แล้วตั้งชื่อวัดว่า วัดชีผ้าขาวหาย มาถึงทุกวันนี้  ในช่วงศึกสงครามทางวัดจัดสร้างพระเครื่องแจกจ่ายแก่ทหารและประชาชนไว้ป้องกันตัว โดยยึดรูปแบบ  ( ฤาษี ) หรือตาผ้าขาวเป็นหลัก คนนับถือกันมาก  ว่าขลังและศักดิ์ สิทธิ์ช่วยผู้ที่มีไว้บูชให้แคล้วคลาดปลอดภัย  มีโชคมีลาภ  มีชัยชนะ ประสบความสำเร็จ  และค้า ขายดีมาก




หลวงปู่โง่น สรโย ให้ความรู้เกี่ยวกับตำนานพระนางพญา 
ปลุกเสกเสริมพลัง และจุดเทียนชัย วันเปิดตำนานพระนางพญา ณ. มูลนิธิธรรมบันดาล




หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ  ผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับตำนานพระนางพญา 
ปลุกเสกเสริมพลังและพรมน้ำมนต์ วันเปิดตำนานพระนางพญา  ณ มูลนิธิธรรมบันดาล 




เจ้าคุณ พระมหาสิทธิการ ( เยื้อน ) วัดเพชรสมุทร์วรวิหาร 
จุดเทียนชัยปลุกเสกเสริมพลังให้พระนางพญาและพระพุทธชนะมาร  ณ. มูลลนิธิธรรมบันดาล
                                    




เจ้าคุณ พระมงคลพิพัฒน์ ( หลวงพ่อบุญธรรม ) วัดหลักสี่  บ้านแผ้ว  จ.สมุทร์สาคร  
พระอุปัชาของ อ. วัลลภ  ธรรมบันดาล      




หลวงพ่ออุตตมะ  วัดวังก์วิเวการาม   จ. กาญจนบุรี  ผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับพระนางพญา
และปลุกเสกเสริมพลังให้พระนางพญาและพระพุทธชนะมาร




(ซ้าย) อ.วัลลภ  ธรรมบันดาล  ได้รับไหบรรจุพระนางพญา เมื่อครั้งอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่สาม อกิญจโณ วัดป่าไตรวิเวก  อ.เมือง  จ.สุรินทร์  (ขวา) หลวงปู่ ผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับตำนานพระนางพญา และจุดเทียนชัย ปลุกเสกเสริมพลังให้พระนางพญา ณ. วัดธรรมบันดาล                                                    




(ซ้าย) หลวงพ่อแย้ม วัดตะเคียน นนทบุรี ปลุกเสก (ขวา) หลวงพ่อพูน วัดไผ่ล้อน จ. นครปฐม ปลุกเสก



คลิกที่รูปเพื่อดูภาพขยาย


          เจ้าของพระนางพญา และผู้ร่วมพิธีเปิดตำนานพระนางพญา  ณ. มูลนิธิธรรมบันดาล




เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


ตำนานพระนางพญา (ฉบับสมบูรณ์) 2/12



หมอบุญมี บุญไชยเดช ( บิดา ) ผู้ที่ได้รับมอบ ( ไห ) บรรจุพระนางพญามาจากปู่บุญ  

พระนางพญาทั้งหมด เป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษของปู่บุญ ได้มาจากไต้ฐานพระพุทธรูปในพระวิหารวัดนางพญาที่พังทลายลงมา ในสมัยนั้นยังไม่มีผู้คนสนใจสะสมพระเครื่องกัน เจ้าอาวาสในสมัยนั้น จึงให้สามเณรบุญ ( ปู่บุญ ) ไปตามญาติพี่น้องให้มาช่วยกันขน ( ไห ) บรรจุพระเครื่องนั้นไปเก็บรักษาไว้ที่บ้านก่อน ในคราวเดียวกันนั้นมีคนสนิทกับเจ้าอา วาสหลายรายทราบเรื่อง ก็พากันเข้าไปขอ ( ไห ) พระเครื่องนั้นไปเก็บรักษาไว้ที่บ้านบ้าง ส่วน มากจะนำ ไปฝังไว้ตามท้องไร่ท้องนาของตนแล้วปลูกต้นไม้ไว้เป็นสัญญาลักษณ์ ไม่มีใครนำไปเก็บไว้ในบ้านเลย เนื่องจากคนในสมัยโบราณไม่นิยมที่จะนำสิ่งของที่เป็นของวัดเข้าบ้าน เพราะกลัวบาปและไม่เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว 

เวลาผ่านไปหนึ่งหรือสองปีต่อมา เจ้าอาวาสญาติสนิทของปู่บุญ ก็มรณภาพด้วยโรคชราถึงช่วงที่ปู่บุญเติบโตเป็นหนุ่ม ก็อุปสมบทเพื่อตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ระยะหนึ่งแล้วจึงลาสิกขา สึกออกมามีครอบครัวโดยไม่ได้สนใจไหบรรจุพระเครื่องนั้นอีกเลย จวบจนกระทั่งหมอบุญมี ไปแต่งงานกับนางเขียว ลูกสาวคนโตของปู่บุญ จึงมีการนำไหบรรจุพระเครื่องนั้นขึ้นมาเปิดออกดู ทำให้รู้ว่าภายในไหนั้นบรรจุพระนางพญาไว้จำนวนมาก ปู่บุญได้กล่าวไว้ว่าพระเครื่องทั้งหมดเป็นพระแท้ของจริงทุกองค์ เก็บรักษาไว้ให้ดี ต่อไปจะหายาก   



อาจารย์วัลลภ  ธรรมบันดาล 
          ผู้เปิดตำนานพระนางพญา  กรุวัดนางพญา  จ,พิษณุโลก     

สาระสำคัญในการจัดทำหนังสือ ตำนานพระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุ โลกในครั้งนี้ ก็เพื่อเล่าเรื่องและประวัติการสร้างให้ผู้สนใจทั่วไป ได้ศึกษาหาความรู้กันอย่างถูกต้อง โดยไม่มีการแต่งเติม เสริมเนื้อหาให้ผิดเพี้ยนไปจากความจริงแต่อย่างใร อย่างน้อยก็ช่วยยืนยันว่าพระนางพญาแท้ในโลกนี้ยังมีอยู่จริง ในตำนานเล่มนี้มีภาพประกอบขยายใหญ่ ให้ดูเนื้อพระและมวลสารในสภาพเดิมๆ สีสันเหมือนจริงทุกมุมมอง ประวัติการสร้างถูกต้อง โดยมีความเก่า แก่ทางธรรมชาติอยู่เหนือคำอธิบาย

พระนางพญา 

เป็นพระเครื่องในตำนานประวัติศาสตร์ชาติไทยนอกตำรา ที่จัดสร้างขึ้นจำนวนมาก หลายพิมพ์ หลายสี หลายขนาด มีพิมพ์หนา, พิมพ์กลาง, พิมพ์บาง, เนื้อละเอียด, เนื้อหยาบ ไม่มีการจดบันทึกอย่างเป็นทางการ ไม่มีตำราเรียนสืบทอดต่อกันมา ไม่มีคัมภีร์ลานทองให้ศึก ษา ยากแก่การจดจำ นอกจากหลักฐานความเก่าแก่ทางธรรมชาติที่ผ่านกาลเวลามานานนับร้อย ปี และข้อมูลของคนรุ่น ปู่ ย่า ตา ทวด ท่านช่วย กันจดบันทึกไว้ในตำนานนี้เท่านั้นที่จะยืนยันได้ว่า พระแท้เป็นอย่างไร

ใช้เป็นตำราอ้างอิงได้

นับว่าท่านเป็นผู้โชคดี ที่ได้ร่วมชมการเปิดตำนานพระนางพญา กรุวัดนางพญา จ.พิษณุ โลก ที่รวบรวมและจดบันทึกสืบทอดต่อกันมาหลายช่วงอายุคน แต่ละคนไม่มีผู้ใดทำธุรกิจ ซื้อขายพระเครื่องมาก่อน นับได้ว่าเป็นตำนานบริสุทธิ์ ไม่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายใดๆ ข้อมูลและประวัติการสร้างพระนางพญา รวบรวมเนื้อหาสาระโดยบุคคลระดับอาวุโส ที่มีถิ่นอาศัย อยู่ในจังหวัดพิษณุโลก มาตั้งแต่บรรพบุรุษ และพระเกจิอาจารย์ที่มีบารมีสูงส่งหลายท่าน ที่รู้ประวัติการสร้างพระนางพญามาบ้าง อย่างเช่นองค์สมเด็จพระวันรัตน์ วัดพระเชตุพลหรือ ( วัดโพธิ์ ) หลวงปู่โง่น สรโย หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ หลวงปู่เกษม เขมโก หลวงปู่กัสสปมุนี หลวงปู่แหวน สุจินโน หลวงปู่สาม อกิญจโน ซึ่งเป็นพระที่ไม่สะสมวัตถุมงคลใดๆ แต่ท่านก็มีไหบรรจุพระนางพญาของโยมบิดามารดามาเหมือนกัน ท่านได้มอบไหบรรจุพระนางพญานั้นแก่อาจารย์วัลลภ เพื่อนำไปแจกแก่ผู้ร่วมบริจาคเงินสร้างวัดธรรมบันดาลและวัดภูน้ำเกลี้ยงจนหมด

แรกๆ มีทั้งที่รู้มาตรงกันบ้างไม่ตรงกันบ้าง ต้องเลือกเอาเนื้อ หาสาระในส่วนที่ตรงกัน มาวิเคราะห์ร่วมกับ เหตุผลทางธรรมชาติและภาพประกอบ เพื่อแยกยุคแยกสมัยให้เห็นความแตกต่างด้วยเหตุผลและความเป็นไปได้อย่างชัดเจน มีคุณค่าแก่ผู้สนใจเป็นอย่างยิ่ง สามารถนำไปใช้เป็นตำราอ้างอิงประกอบการพิสูจน์ได้ ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์ อักษรศาสตร์ ดาราศาสตร์ ธรณีวิทยา โบราณคดี จิตวิทยา และศิลปะศาสตร์                                                                                                                                                                                                                     
มุ่งเน้นความเป็นกลาง

ในการจัดทำสารคดีนี้  มุ่งเน้นความเป็นกลางและถูกต้อง  ไม่ลำเอียงเข้าข้างผู้ทำธุรกิจให้เช่าพระเครื่องแต่อย่างไร หวังให้ผู้สนใจรู้จักวิเคราะห์ รู้จักใช้เหตุผลในการพิจารณาระหว่างของ เก่ากับของใหม่  ดินเผาเก่ากับดินเผาใหม่แตกต่างกันอย่างไร ที่ผ่านมาพบว่าการดูพระเครื่อง  จะมุ่งเน้นดูกันที่รูปภาพและรูปทรงขององค์พระว่าเป็นพิมพ์อะไร  มีตำหนิตรงไหนบ้างเท่านั้น 

การดูตำหนิ

การดูตำหนิอย่างหนึ่งอย่างใดตายตัว ไม่ใช่เหตุผลที่จะนำมาตัดสิน ว่าเป็นพระแท้หรือไม่แท้ เพราะในขณะที่แกะพระออกมาจากแม่พิมพ์ใหม่ๆโดยบุคคลคนเดียวกัน เวลาห่างกันสี่ห้านา ที ก็ไม่เหมือนกันแล้ว  การสร้างพระเครื่องจากแม่พิมพ์หลายอัน  ทำโดยบุคคลหลายคน  จะมีตำหนิเหมือนกันที่เดียวกัน ( ทุกองค์ ) เป็นไปไม่ได้   

เปรียบเทียบพระนางพญา ที่แกะออกจากแม่พิมพ์เดียวกัน


(ซ้าย) พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง สร้างในยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์  (คุณตวงพร บุญพามี จ.นครราชสีมา  เป็นเจ้าของ ) / (ขวา) พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง สร้างในยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์ ( องค์สมเด็จพระวันรัตน์  (วัดโพธิ์)  ให้ไว้                                

นี่คือพระพิมพ์เข่าโค้ง ที่แกะออกมาจากแม่พิมพ์เดียวกัน จะเห็นว่ามีรูปทรงโครงสร้างโดยรวมเหมือนกันแทบแยกไม่ออก  ต้องดูตำหนิและสภาพความเก่าแก่  ทางธรรมธรรมชาติที่ผ่านกาล เวลามานานนับร้อยปีทั่วๆองค์พระ   จึงจะเห็นความแตกต่างกันได้ชัดเจนยิ่งขึ้น   หากพิจารณาดูเนื้อดิน  เนื้อดินควรมีลักษณะและสีเหมือนกับดินที่ผสมในก้อนเดียวกัน ดังตัวอย่าง  ที่นำมาให้ชมนี้   


(ซ้าย) พระนางพญา พิมพ์เข่าตรง สร้างในยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์ (หลวงปู่โง่น สรโย ให้ไว้) / (ขวา) พระนางพญา พิมพ์เข่าตรง สร้างในยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์ (หลวงปู่เกษม เขมโก ให้ไว้)                  
นี่คือพระพิมพ์เข่าตรง ที่แกะออกมาจากแม่พิมพ์เดียวกัน จะเห็นว่ามีรูปทรงโครงสร้างโดยรวมเหมือนกันแทบแยกไม่ออก ต้องดูตำหนิและสภาพความเก่าแก่ ทางธรรมธรรมชาติที่ผ่านกาลเวลามานานนับร้อยปีทั่วๆองค์พระ จึงจะเห็นความแตกต่างกันได้ชัดเจนยิ่งขึ้น หากพิจารณาดูเนื้อดิน เนื้อดินควรมีลักษณะและสีเหมือนกับดินที่ผสมในก้อนเดียวกัน ดังตัวอย่าง ที่นำมาให้ชมนี้ 
 
การสร้างพระเครื่องในสมัยโบราณ ยังไม่มีการทำตำหนิหรือเครื่องหมายอื่นใดไว้ที่องค์พระ เพราะในสมัยนั้น ยังไม่มีพระหรือครูบาอาจารย์ท่านใดคิดล่วงหน้า ว่าจะมีผู้คนสนใจกันมากถึงกับทำปลอมหรือสร้างรุ่นสองรุ่นสามตามมาอีก ส่วนลายนิ้วมือที่มีปรากฏอยู่ด้านหลังขององค์พระเครื่องนั้นเกิดขึ้นตามความจำเป็นที่จะต้องกดเนื้อพระให้ลงลึกไปในแม่พิมพ์ ไม่ใช่จงใจทำเครื่องหมายหรือตำหนิอื่นใด หากเห็นลายนิ้วมืออยู่ในลักษณะจงใจทำ ก็ให้สงสัยไว้ก่อน ว่าเป็นพระที่ทำเทียมเลือนแบบ ส่วนจะเป็นสมัยไหนต้องไปดูเนื้อดินที่นำมาสร้าง ว่าเป็นดินในยุคก่อนหรือหลังกรุงรัตน์โกสิน ถ้าเป็นดินยุคก่อนกรุงรัตน์โกสิน ถือว่าเป็นพระแท้ ส่วนจะเป็นวัดไหนสร้างต้องไปสืบถามกันเอง แต่ไม่ใช่กรุวัดนางพญาแน่นอน ถ้าหากเป็นดินในยุคกรุงรัตน์โกสินเรื่อยลงมาถึงปัจจุบัน ถือว่าเป็นพระกรุอื่นวัดอื่นไม่ใช่กรุวัดนางพญาแน่นอน                                                                                                                                



เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


ตำนานพระนางพญา (ฉบับสมบูรณ์) 3/12




อนุรักษ์ความเก่าแก่

ปกตินักนิยมสะสมของเก่าทั่วไป จะอนุรักษ์ร่องรอยความเก่าแก่ทางธรรมชาติไว้ให้อยู่ในสภาพเดิมๆ จะไม่ทำลายหลักฐานความเก่าแก่ตามกาลเวลาที่ผ่านมาทิ้งไปโดยเด็ดขาด ถ้าจะดูพระแท้หรือไม่แท้ ดูจากสภาพของความเก่าแก่ตามธรรมชาติน่าเชื่อถือกว่า ยิ่งเป็นพระเครื่องก็ยิ่งควรจะรักษาสภาพความเก่าแก่ไว้เป็นหลักฐานในการสร้าง ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไปล้างหรือทำลายทิ้ง ต่อจากนั้นจึงดูรูปทรงขององค์พระว่าสร้างในยุคใด สมัยไหน ใครเป็นผู้สร้าง

ข้อมูลทางการศึกษา

ตำนานพระนางพญานี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาหาข้อมูล เกี่ยวกับประวัติและความเป็นมาของพระนางพญา พระเครื่องสำคัญในชุดเบญจภาคีโดยเฉพาะ จุดประสงค์ของผู้จัดทำต้องการเสนอข้อมูลทางวิชาการแก่ผู้ที่สนใจศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพระนางพญาว่ามีประวัติและความเป็นมาอย่างไร มีหลักเกณฑ์ในการดูอย่างไร เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก เป็นอย่างยิ่ง เพราะมุ่งเน้นประ วัติและศิลปะการสร้างตลอดทั้งดูมวลสารและความแข็งแกร่งของเนื้อพระเป็นหลัก 

พระชุดเบญจภาคี

ที่มาของพระชุดเบญจภาคี มีดังนี้ เบญจแปลว่า ๕ ภาคีแปลว่า พวกหรือผู้มีส่วนร่วม การนำพระเครื่องสำคัญๆ ๕ องค์มารวมกันเป็นชุดจึงเรียก ว่า เบญจภาคี

ชุดที่ ๑ ได้แก่พระเครื่องสำคัญๆดังนี้

  • พระรอด จังหวัดลำพูน 
  • พระผงสุพรรณ จังหวัดสุพรรณบุรี 
  • พระซุ้มกอ จังหวัดกำแพงเพชร 
  • พระนางพญา จังหวัดพิษณุโลก 
  • พระสมเด็จวัดระฆัง จังหวัดกรุงเทพฯ 


พระรอด กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน สร้างในสมัยทวารวดี ปี พ.ศ 1200          



พระผงสุพรรณ จ.สุพรรณบุรี สร้างในสมัยอู่ทอง




พระซุ้มกอ  กรุวัดพิกุล   จังหวัดกำแพงเพชร สร้างในสมัยสุโขทัย  




พระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา   




พระสมเด็จวัดระฆัง กรุงเทพฯ สร้างในสมัยกรุงรัตน์โกสินทร์ 




พระสมเด็จบางขุนพรหม  จ.กรุงเทพฯ สร้างในสมัยกรุงรัตน์โกสินทร์ 


ชุดที่ ๒ ได้แก่สิ่งศักดิ์สิทธ์ ๕ สมัย

  • สมัยทวารวดี ( พระรอด )
  • สมัยอู่ทอง ( พระผงสุพรรณ )
  • สมัยสุโขทัย ( พระซุ้มกอ )
  • สมัยอยุธยา ( พระนางพญา )
  • สมัยรัตน์โกสินทร์ ( พระสมเด็จวัดระฆัง )




เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


ตำนานพระนางพญา (ฉบับสมบูรณ์) 4/12



วัดนางพญา  จ. พิษณุโลก 



พระอุโบสถวัดนางพญา  จ. พิษณุโลก 


ผู้สร้างวัดนางพญา

จากหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์พบว่า เดิมวัดนางพญาเป็นวัดเดียวกันกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ต่อมาถึงยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์ ได้มีการแบ่งแยกที่ดินด้านพระมหาวิหารออกมาบูรณะเป็นวัดและได้นำความสำคัญขององค์พระมหากษัตรีย์ ”สตรี” ผู้ครองเมืองในขณะ นั้นมาตั้งเป็นชื่อวัดว่า ( วัดนางพญา ) ในสมัยโบราณจะนิยมสร้างวัดผัววัดเมียไว้คู่กันเสมอ วัดราชบูรณะชาวบ้านเรียกกันว่า ( วัดผัว ) วัดนางพญา ชาวบ้านเรียกกันว่า ( วัดเมีย ) เป็นต้น




ส่วนผู้สร้างวัดราชบูรณะคือ พระมหาธรรมราชา


ที่มาของการสร้างพระนางพญา

 จากเหตุการณ์ บ้านเมืองในขณะนั้น  อยู่ในระหว่างศึกสงครามถูกพม่ารุกราน   องค์พระวิสุทธิกษัตรีย์   จึงตรัสสั่งให้หาพระเกจิอาจารย์ ที่มีเวทมนต์คาถาขลังและศักดิ์สิทธิ์ในยุคนั้น ให้มาช่วยกันจัดสร้างพระเครื่องแจกแก่ประชาชนและทหารที่ออกรบไว้ป้องกันตัวจำนวนมาก โดยยึดรูปแบบหลวงพ่อพระพุทธชินราชเป็นหลัก  การทำแม่พิมพ์ก็ทำกันแบบรีบร้อน    คือพิมพ์ได้ครั้งละ 3 องค์ แล้วนำไปตัดแยกออกด้วยตอกมุงหลังคาไม่มีเวลาที่จะเคลือบหรือลงรัก เพื่อรักษา ผิวเนื้อพระให้สวยงามและเหนียวแน่นคงทนครบหมดทุกองค์ 




ที่มาของการสร้างพระนางพญาอกนูนใหญ่

ในยุคเดียวกันนี้ มีการสร้างพระนางพญาพิมพ์อกนูนใหญ่และอกนูนเล็กเพิ่มขึ้นอีกสองพิมพ์ มีเอกลักษณ์แปลกตาไม่เหมือนใคร เป็นพระเครื่องที่สร้างขึ้นเพื่อสรรเสริญวีรกรรมของพระศรีสุริโยทัย ดังมีเรื่องเล่าไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทย เมื่อครั้งที่พม่ายกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา เนื่องด้วยสมเด็จพระศรีสุริโยทัย สืบเชื้อสายมาจากราชวงษ์พระร่วง ดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในขณะที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองราชย์ สม บัติกรุงศรีอยุธยาต่อจากขุนวรวงศาธิราชได้เพียง 7 เดือน เมื่อปี พ.ศ 2091 พระเจ้าตะเบ็งชะเว ตี้ และมหาอุปราชาบุเรงนอง ยกกองทัพพม่าเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก โดยเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรีและตั้งค่ายล้อม พระนครศรีอยุธยาไว้                         
                                                                                                                         



การศึกครั้งนั้น เป็นที่เลื่องลือถึงวีรกรรมของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ซึ่ง ไสช้างพระที่นั่งเข้าขวางพระเจ้าแปร ด้วยเกรงว่าสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชสวามีจะเป็นอันตราย จนถูกพระแสงของ้าว ฟันพระอังสาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง เพื่อปกป้องพระราชสวามีไว้ เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 ปีจุลศักราช 910 ตรงกับวันเดือนปีทางสุริยคติคือ วันที่ 3 กุมภา พันธ์ พ.ศ 2092 

วันนั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงตัดสินพระทัย ยกทัพออกนอกพระนครเพื่อเป็นการบำรุงขวัญทหารและทอดพระเนตรจำนวนข้าศึก สมเด็จพระศรีสุริโยทัย พร้อมกับพระราชโอรส พระราชธิดา 4 พระองค์ ได้เสด็จติดตามไปด้วย โดยพระองค์ทรงแต่งกายอย่าง มหาอุปราช ครั้นยกกองทัพออกไปบริเวณทุ่งภูเขาทอง กองทัพอยุธยาปะทะกับกองทัพพระเจ้าแปร ซึ่งเป็นทัพหน้าของพม่าช้างทรงของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเกิดเสียทีหันหลังหนีจากข้าศึก พระเจ้าแปรก็ทรงขับช้างไล่ตามมาอย่างกระชั้นชิด สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ทอดพระเนตรเห็นพระราชสวามีกำลัง อยู่ในอันตราย จึงรีบขับช้างเข้าขวางพระเจ้าแปร ทำให้ไม่สามารถติดตามต่อไปได้ พระเจ้าแปรจึงทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระศรีสุริโยทัย 

ช้างของพระศรีสุริโยทัยอยู่ในลักษณะเสียเปรียบ ช้างของพระเจ้าแปร ได้เสยช้างของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย จนเท้าหน้าทั้งสองลอยพ้นพื้นดิน แล้วพระเจ้าแปรจึงฟันสมเด็จพระศรีสุริโยทัยจากพระพาหาขาดถึงกลางพระองค์ เสด็จสวรรคตเช่นเดียวกับพระราชธิดา คือพระบรมดิลก บนช้างเชือกเดียวกัน เมื่อสงครามยุติลง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ได้ทรงปลงพระศพของพระนาง และสถาปนาสถานที่ปลงพระศพขึ้นเป็นวัด ขนานนามว่า วัดสบสวรรค์ หรือวัดสวนหลวงสบสวรรค์



วัดสวนหลวงสบสวรรค์

สมเด็จพระศรีสุริโยทัย มีพระราชโอรส – พระราชธิดา 5 พระองค์ เรียงตามลำดับดังนี้ 

  • พระราเมศวร พระราชโอรสองค์โต ถูกจับเป็นองค์ประกันแก่พม่า และสิ้นพระชนม์ในระหว่างไปหงสาวดี
  • พระมหินทร์ พระราชโอรสองค์รอง ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระมหินทราธิราช กษัตริย์องค์สุดท้ายก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 ใน พ.ศ. 2112 
  • พระสวัสดิ์ราช พระราชธิดา ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระวิ สุทธิกษัตรีย์ อัครมเหสีในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและเป็นพระชนนีของพระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระเอกาทศรถ
  • พระบรมดิลก พระราชธิดา เสียพระชนม์ชีพพร้อมพระมารดาในสง ครามคราวเสียพระศรีสุริโยทัย 
  • พระเทพกษัตรี พระราชธิดา ภายหลังถูกส่งตัวถวายแด่พระไชยเชษฐาแห่งอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งระหว่างการเดินทางถึงชายแดนสยามประเทศ พระนางถูกพระเจ้าบุเร็งนองกษัตริย์แห่งพม่าทำการชิงตัวไปยังกรุงหงสาวดี



ในการสร้างพระนางพญาพิมพ์อกนูนใหญ่และอกนูนเล็ก ก็เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระศรีสุริโยทัยและพระบรมดิลก พระราชธิดาที่สิ้นพระชนม์ชีพพร้อมพระมารดา ในสงครามคราวเดียวกัน 

โดยมีรูปทรงแปลกตา บ่งบอกถึงสตรีเพศคือ อกนูนใหญ่ คงหมายถึงพระศรีสุริโยทัย และอกนูนเล็ก คงหมายถึง พระบรมดิลก พระราชธิดา 

พระเครื่องทั้งสองพิมพ์นี้สร้างจำนวนน้อย ทำให้มีการเสาะแสวงหาไว้ครอบครองกันมาก ไม่แพ้พระนางพญาพิมพ์อื่นๆ ด้วยความจงรักภักดีที่องค์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ยอมเสีย สละได้แม้กระทั่งพระชนม์ชีพ ส่งผลทำให้พระนางพญาพิมพ์อกนูนใหญ่ มีความขลังและศักดิ์ สิทธิ์โดดเด่นไปในทางส่งเสริม ให้มีตำแหน่งหน้าที่การงานดีขึ้น มีโชคมีลาภและค้าขายร่ำ รวยเร็ว ใครเห็นใครรักพักดีมั่นคง ( เสน่ห์แรง ) เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงส่งและให้คนรักภักดีตลอดไป 




เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


ตำนานพระนางพญา (ฉบับสมบูรณ์) 5/12


พระนางพญาที่สร้างขึ้นมี  ๖  พิมพ์ด้วยกัน



พิมพ์เข่าโค้ง 
สร้างในยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์  




พิมพ์เข่าโค้ง  
สร้างในยุคขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ( ยุคอินโดจีน )  




พิมพ์เข่าโค้ง 
สร้างในยุคขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ( ยุคสงครามใกล้สงบ )  





พิมพ์เข่าตรง  
สร้างในยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์ 




พิมพ์เข่าตรง  
สร้างในยุคขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช





พิมพ์สังฆาฏิ  
สร้างในยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์ 




พิมพ์สังฆาฏิ 
สร้างในยุคขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช




พิมพ์อกนูนใหญ่  
 สร้างในยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์


แต่ละพิมพ์ สร้างขึ้นสามขนาดคือ  หนา – กลาง - บาง ดังนี้       






เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


ตำนานพระนางพญา (ฉบับสมบูรณ์) 6/12


พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้งมี 3 พิมพ์ดังนี้คือ




1. พิมพ์เข่าโค้ง หวายผ่าซีก   (เส้นโค้งไม่เล็กไม่ใหญ่มากนัก)  




2   พิมพ์เข่าโค้ง เส้นด้าย  ( เส้นโค้งจะเล็กมาก )  




3. พิมพ์เข่าโค้งวงพระจันทร์ (  เส้นโค้งจะมีลักษณะคล้ายวงเล็บ )  



  สีขององค์พระนางพญา 




ทำไมพระนางพญา จึงมีหลายสี 

การดูสี ถือว่าเป็นไม้ตายในการดูพระนางพญา กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก สร้างในยุคของ องค์พระวิสุทธิกษัตรีย์วิธีหนึ่ง พระและครูบาอาจารย์ตลอดทั้งคนเฒ่าคนแก่ท่านบอกว่าเขาทำไว้เพื่อให้ง่ายแก่การจดจำ ว่าพระนางพญาองค์ไหน ผสมมวลสารอะไรลงไปในเนื้อพระพิมพ์ต่างๆนั้นบ้าง พระนางพญาแต่ละพิมพ์แต่ละสี นอกจากจะผสมมวลสารหลักๆลงไปแล้ว ยังได้ผสมมวลสารของพระเกจิอาจารย์ที่สร้างและปลุกเสกไว้ส่วนตัว เพิ่มความขลังและความศักดิ์ สิทธิ์ลงไปด้วย อย่างเช่นผงอิทธิเจ ผงมหาอุด ผงปัดตลอด ผงสาลิกาป้อนเหยื่อ ผงพญาเต่าเรือนผงมงคลจักรวาฬ ผงพระเจ้า ๕ พระองค์ ผงอิติปิโสธงชัยและอื่นๆอีกมากเป็นต้น

พระและครูบาอาจารย์ในสมัยโบราณท่านมีเวทมนต์คาถาขลังและศักดิ์สิทธิ์ถึงขั้นพิสูจน์ได้ทุกองค์ ในสมัยนั้นแค่เห็นสีขององค์พระนางพญา คนก็รู้กันแล้วว่าพระนางพญาองค์นั้นมีคุณวิเศษโดดเด่นดีทางไหน พระเกจิอาจารย์ท่านใดเป็นผู้ปลุกเสก และผสมมวลสารอะไรลงไปบ้าง พระนางพญาแต่ละพิมพ์แต่ละสี จึงมีความสำคัญบอกให้รู้ถึงความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ที่แตก ต่างกันได้เป็นอย่างดี สีที่ดูยากที่สุดคือ ( สีดำ ) ต้องดำสนิท ส่วนสีเขียวครกหิน จะเห็นสีดำออกเขียวเหมือนครกหินที่ขัดเงาแล้ว ต้องดูให้ดีๆ

ถึงตรงนี้คงจะหายสงสัยกันไปแล้วว่าทำไมพระนางพญาจึงมีหลายสี ด้วยเหตุผลดังกล่าว ข้างต้น จึงไม่สนับสนุนให้มีการล้างและทำลายความเก่าแก่ทางธรรมชาติทิ้งไป เนื่องจากพระนางพญาแต่ละองค์มีมวลสารพิเศษไม่เหมือนกัน ล้างดูยังไงก็เห็นมวลสารไม่เหมือนกันอยู่แล้ว 


ความสำคัญของสีพระนางพญา 

ปู่บุญ ได้เล่าเรื่องของสีพระนางพญา กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก ให้ฟังว่า พระนาง พญาแต่ละสี มีดีโดดเด่นต่างกันไป อย่างเช่น 

- สีดอกพิกุลแห้ง, สีดอกจำปี, สีหัวไพลแห้ง

ดีทางเสน่ห์เมตตามหานิยม, ค้าขายดี, มีโชคลาภ, ฐานะไม่ตกต่ำ, ไม่ยากจน,

- สีเม็ดมะขาม

ดีทางทำให้ผู้คนเกรงขาม, มีพลังอำนาจในการบริหารงานใหญ่ๆ เหมาะสำหรับบุคคลที่ต้องการเป็นเจ้าคนนายคน ตลอดทั้งประสบความสำเร็จในตำแหน่งหน้าที่การงานไวๆ มีโชคมีลาภ ตลอดทั้งแคล้วคลาดจากอุบัติเหตุอันตรายต่างๆ 

- สีครกหิน, สีเขียวครกหิน, สีเขียวตากบ, สีดำ 

ดีทางส่งเสริมให้มีหลักทรัพย์ โชคลาภ ความรุ่งเรือง มีฐานะมั่นคง และเอาชนะอุป สรรคตลอดทั้งแคล้วคลาดปลอดภัยจากอุบัติเหตุอันตรายต่างๆ

- สีแดง, สีอิฐ, สีขมิ้นชัน 

ดีทางโชคลาภ มีตำแหน่งหน้าที่การงานก้าวหน้า บริวารจงรักภักดี ร่ำรวยมั่นคง และแคล้วคลาดจากอุบัติเหตุอันตรายต่างๆ

- สีขี้ผึ้ง, สีตับเป็ด

ดีทางเสน่ห์เมตตามหานิยม เป็นที่รักใคร่หลงใหลแก่คนทั่วไป ทำธุรกิจใดๆประสบความสำเร็จได้โดยง่าย 


ขั้นตอนการผสมเนื้อพระ

มีเรื่อเล่ากันต่อๆมาว่า ขั้นตอนการผสมเนื้อพระนางพญาจะเริ่มต้นด้วยการนำดินไปผสม น้ำสี ที่ทำจากเปลือกและดอกไม้มงคลต่างๆ แล้วนำไปตำจนดินเหนียว ต่อจากนั้นก็นำดินที่ผสม 

แล้วไป ( กด ) ลงใน แม่พิมพ์แต่ละพิมพ์ จากนั้นก็เอาพระไปตากแดดจนแห้ง แล้วนำไปบรรจุไว้ใน ( ไห ) โดยมีแกลบ มีขี้เลื่อย มีหญ้าคาสับละเอียดลองรับ ไม่ให้องค์พระเบียดเสียดยัดเยียดกัน จนเกิดการแตกหักเสียหาย ขั้นตอนสุดท้ายก็นำไปเผาไฟทั้งไห 

การนำพระเครื่องไปเผาไฟทั้งไห ก็เพื่อให้สีของเนื้อพระเป็นสีเดียวกันทั้งองค์ ไม่ดำครึ่งแดงครึ่ง เหมือนเผากุ้งเผาปลา สีที่กำหนดไว้มีดังนี้คือ สีขมิ้นชัน สีหัวไพลแห้ง สีดำ ดอกจำปี สีครกหิน สีเขียวครกหิน สีตับเป็ด สีแดง สีดอกพิกุลแห้ง สีขี้ผึ้ง สีเขียวตากบ สีเม็ดมะขาม และสีอิฐ 

ถ้าสังเกตให้ดี จะเห็นว่าพระนางพญามีสีเสมอเหมือนกันทุกองค์ ไม่ดำๆด่างๆ ส่วนราดำ ราเขียวและขี้ตะใคร่ที่เกิดจากไอน้ำหรือความชื้นตกผลึกฝังลึกลงไปในเนื้อพระนั้น เกิดทับซ้อนขึ้นมา ตามธรรมชาติที่ผ่านกาลเวลามานานนับร้อยปีพันปีในภายหลัง มนุษย์ไม่สามารถทำเทียมเลียนแบบธรรมชาติได้ เป็นเหตุทำให้คนที่มีพระนางพญา แต่ไม่มีราเขียว ราดำ และขี้ตะใคร่ที่เกิดจากไอน้ำหรือความชื้นตกผลึกฝังลึกลงไปในเนื้อพระ พยายามล้างและทำลายหลักฐานความเก่าแก่ทางธรรมชาติที่ลอยอยู่บนผิวเนื้อพระออก เหลือไว้แต่สีอิฐ โดยอ้างว่าล้างเพื่อต้องการดูมวลสารให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

หากไปพบเห็นพระนางพญาที่ไหน ไม่มีสีดังตัวอย่างที่นำมาให้ชมนี้ ก็ขอให้รู้ไว้ว่าไม่ ใช่พระนางพญา กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก ที่สร้างขึ้นในยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์ แน่ นอน ส่วนจะเป็นพระนางพญาวัดไหน ใครเป็นผู้สร้าง ต้องไปสืบถามหาความรู้เพิ่มเติมกันเอาเอง ( ผู้จัดทำไม่มีนโยบายวิจารณย์หรือออกความเห็น ) เกี่ยวกับพระเครื่องของท่านผู้ใดในทุกกรณี


การดูสี ยุคขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

การดูสีพระนางพญา สร้างในยุคของ องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไม่มีอะไรซับซ้อน มีแค่สีอิฐ เนื้อหยาบและเนื้อละเอียดเท่านั้น ยุคแรกสร้างในสมัยที่องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชขึ้นครองราชและประกาศอิสรภาพใหม่ๆ พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้งยุคนั้นจะปรากฏดวงตา ( โปน ) ออกมาเด่นชัด มีราเขียวราดำ และขี้ตะใคร่ที่เกิดจากไอน้ำและความชื้นตกผลึกฝังลึกลงไปในเนื้อพระหรือไม่ก็เกาะกันเป็นแผ่น เนื่องจากสร้างต่อจากยุคของ องค์พระวิสุท ธิกษัตรีย์ ยุคนี้คนทั่วไปเรียกกันว่า ( ยุคอินโดจีน ) 

ยุคต่อมา สร้างในช่วงสงครามใกล้สงบ มีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด เนื้อหยาบจะมีมวลสารปรากฏให้เห็นชัดเจน ส่วนเนื้อละเอียดมีมวลสารปรากฏอยู่บ้างเล็กน้อย มีพุทธคุณเหมือนกัน


เอกลักษณ์พระนางพญา

พระนางพญามีเอกลักษณ์โดดเด่นไม่เหมือนใครคือ ใช้ตอกมุงหลังคาตัดด้านข้างทั้งสามด้าน อาจมีบางท่านสงสัยว่าทำไมจึงใช้ตอกตัด ทั้งๆที่ในสมัยนั้นก็มีมีดใช้แล้ว นั่นเป็นเคล็ดลับของพระเกจิอาจารย์ในสมัยนั้น ที่ต้องการตอกและตรึงเวทมนต์คาถาให้อยู่คู่กับ พระนางพญาตลอดไป ไม่ต้องการให้ “ขอม” หรือใครมาแกล้งทำให้เสื่อมหรือคลายความขลังและความศักดิ์ สิทธิ์ไปได้ 

พระนางพญา กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก ( แท้ ) ด้านข้างทั้งสามด้าน ต้องมีรอยขรุขระ ยุบตัวที่เกิดจากรอยตอกตัดแยกองค์พระออกจากกันชัดเจน ฝีมือมนุษย์ไม่สามารถทำเทียมเลียน แบบความเก่าแก่ตามธรรมชาติได้ โดยเฉพาะเนื้อพระต้องแข็งและแกร่งเหมือนหินหรือฟ๊อสซิล ( Fossil ) 

การจัดสร้างพระพิมพ์แต่ละครั้ง จะมีแม่พิมพ์หลายอัน แม่พิมพ์แต่ละอัน พิมพ์ได้ครั้งละ 3 องค์ คือพิมพ์ออกมาติดกันสามองค์ แล้วนำมาตัดแยกออกด้วยตอกมุงหลังคา เนื่องจากในขณะนั้น อยู่ในระหว่างศึกสงคราม ต้องทำกันอย่างรีบร้อน ทำให้ส่วนต่างๆขององค์พระมีการผิดเพี้ยนไปบ้าง แต่สภาพโดยรวม ยังคงอยู่ในสภาพเดิมๆ พระในแม่พิมพ์เดียวกันทั้งสามองค์ จะไม่เหมือนกันเลย สภาพของดินที่นำมาสร้างพระ ก็มีส่วนทำให้การพิมพ์พระเครื่องนั้นคลาด เคลื่อน ผิดเพี้ยนไป เนื่องจากในขณะที่พิมพ์พระลงไปในแม่พิมพ์ใหม่ๆ ดินยังสดและชื้น แต่พอนำไปเผาไฟก็มีการหดตัวตามธรรมชาติ ทำให้รูปทรงต่างๆขององค์พระผิดเพี้ยนไป เช่นเบี้ยวไปบ้าง งอไปบ้าง แอ่นไปบ้าง มีเศษดินตกหล่นไปเป็นส่วนเกินบ้าง ขึ้นอยู่ที่อุณหภูมิของไฟที่เผาบ้าง 


เนื้อดินที่นำมาสร้างพระนางพญา

เนื้อดินที่นำมาสร้างพระเครื่องแต่ละยุคแต่ละสมัย ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ถึงแม้จะไปนำดินในที่เดียวกันกับดินที่สร้างพระเครื่องเมื่อหลายร้อยปี มาสร้างใหม่อีกครั้ง เนื้อ ดินก็แตกต่างกันไปแล้ว ฝีมือมนุษย์ไม่สามารถทำเทียมเลียนแบบธรรมชาติ ที่ผ่านกาลเวลามานานๆได้ ฉะนั้นการสังเกตพระเครื่องเนื้อดินเผาว่าใหม่หรือเก่า ก็ดูได้จากสีและเนื้อดินที่นำมาสร้าง 

หากท่านใดดูความแตกต่างระหว่างของเก่ากับของใหม่ ดินเผาเก่ากับดินเผาใหม่ไม่ออก ก็อย่าไปหวังว่า จะได้พระเครื่องแท้ของเก่าจริงๆไว้ครอบครอง การดูรูปทรงขององค์พระและดูตำหนิอย่างหนึ่งอย่างใดตายตัว จึงไม่ใช่เหตุผลที่จะนำมาตัดสินว่าเป็นพระแท้หรือไม่แท้ พระใน แม่พิมพ์เดียวกันทั้งสามองค์ก็ไม่เหมือนกัน แกะออกมาจากแม่พิมพ์เดียวกัน โดยบุคคลคนเดี่ยวกัน เวลาต่างกันไม่กี่นาที ก็ไม่เหมือนกันแล้ว การสร้างพระเครื่องจากแม่พิมพ์หลายอัน ทำโดยบุคคลหลายคน จะมีตำหนิเหมือนกัน ที่เดียวกัน ( ทุกองค์ ) ย่อมเป็นไปไม่ได้ 


การทำตำหนิ

ในสมัยโบราณการสร้างพระเครื่องยังไม่มีการทำตำหนิหรือเครื่องหมายใดๆที่องค์พระ ตำหนิต่างๆที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นโดยบังเอิญไม่ซ้ำที่กัน การจะนำตำหนิไม่ซ้ำที่กัน มาชี้เป็นมาตร ฐานตายตัวนั้นเชื่อถือไม่ได้ 

ปกตินักนิยมสะสมของเก่าทั่วไป จะอนุรักษ์ร่องรอยความเก่าแก่ทางธรรมชาติ ไว้ให้อยู่ ในสภาพเดิมๆ จะไม่ไปล้างหรือทำลายหลักฐาน ความเก่าแก่ทางธรรมชาติที่ผ่านกาลเวลา มานานนับร้อยปีพันปีทิ้งไปโดยเด็ดขาด ถ้าเป็นพระเครื่องก็ยิ่งจะต้องรักษาสภาพความเก่าแก่ ไว้เป็นหลักฐานในการสร้าง ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไปล้างหรือทำลายทิ้ง การเชื่อเหตุผลทางธรรม ชาติย่อมดีกว่าเชื่อเหตุผลจากบุคคลที่เกิดในยุคเดียวกัน เพราะธรรมชาติไม่เคยโกหกหลอกลวงใคร                 

             
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


ตำนานพระนางพญา (ฉบับสมบูรณ์) 7/12


รูปพระนางพญาขนาดใกล้เคียงกับพระของจริง








องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประกาศอิสรภาพ

องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงประกาศอิสรภาพ เป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาแล้ว จึงหันมาพัฒนาวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดนางพญา วัดราชบูรณะ ที่พระราชบิดาและพระราชมารดาทรงสร้าง พร้อมทั้งสร้างพระเครื่องให้เป็นขวัญและกำลังใจแก่ทหารที่ออกรบอีกครั้งที่เหลือก็นำไปบรรจุไว้ในกรุทั้งสามวัด เพราะมีเขตขันธ์สีมาติดต่อกัน 

อาจมีบางท่านตั้งข้อสงสัยกันว่า เวลามีศึกสงครามทำไมไม่รื้อหรือขุดเอาพระนางพญาที่บรรจุอยู่ในกรุออกมาใช้อีก เนื่องจากคนในสมัยโบราณถือกันว่า การทุบทำลายสถูปเจดีย์และ พระพุทธรูปนั้นเป็นบาปที่ใหญ่หลวง ปัจจุบันผิดกฎหมายมีสิทธิ์ติดคุกติดตะราง จึงไม่มีการทุบหรือทำลายสถูปเจดีย์และพระพุทธรูปเพื่อนำเอาพระเครื่องที่บรรจุอยู่ในกรุออกมาใช้กัน สิ่งสำคัญคนในสมัยโบราณ ไม่นิยมที่จะนำสิ่งของที่เป็นของวัดเข้าบ้าน เพราะกลัวบาปและไม่เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว 

นำกลับไปคืนวัด

ทุกครั้งที่เสร็จศึกสงคราม ทหารและประชาชนที่ได้รับแจกพระเครื่องจากวัดต่างๆไปป้องกันตัว ต่างก็พากันนำกลับไปคืนวัดหมด ใครอยู่ใกล้วัดไหนก็นำกลับไปคืนวัดนั้น โดยไม่เจาะจงว่าตอนรับจะไปรับมาจากวัดไหน ส่งผลทำให้พระนางพญาและพระเครื่องวัดอื่นๆ ถูกบรรจุรวมอยู่ในกรุเดียวกันอย่างถาวร จนคนรุ่นหลังๆเข้าใจไปว่า พระนางพญาแท้ได้สูญหายจากโลกนี้ไปแล้ว จวบจนกระทั่งสถูปเจดีย์และพระพุทธรูปทรุดโทรมพังทลายลงมาเอง เรียกว่า“กรุแตก” พระนางพญาแท้ที่นำออกมาจากกรุแตก กลายเป็นพระแปลกตา ส่งผลทำให้นักนิยม สะสมพระเครื่องยุคใหม่ถอดใจ ไม่กล้าสะสมพระหลักในชุดเบญจภาคีล้ำค่าหายาก, ราคาแพง,เพราะกลัวถูกหลอก ถึงกับพาลไม่สนใจในพระเก่าแก่ชุดเบญจภาคีที่พระและครูบาอาจารย์ท่านสร้างไว้ในอดีตไปเลย 

สะสมพระเก๊ไว้เต็มคอ

ทั้งๆที่พระแท้ของจริงยังมีอยู่กับชาวบ้านธรรมดาๆ ระดับตาสีตาสา อีกมากมาย กลุ่มบุค คลดังกล่าวเป็นคนเก่าแก่หัวโบราณ ไม่ได้สนใจที่จะส่งพระเครื่องเข้าประกวด และไม่ได้สนใจใบการันตีของคนรุ่นลูกรุ่นหลาน เพราะเชื่อมั่นในพระที่ได้รับมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษว่าเป็นพระแท้ 100% 

. ทำให้พ่อค้า นักธุรกิจ ทหาร ตำรวจ และคนฐานะดีมีเงิน ไม่มีโอกาสได้เข้าถึงและครอบครองเป็นเจ้าของพระแท้ของจริง เพราะมองข้ามบุคคลต้นน้ำ กลางน้ำ ไปฟังคนปลายน้ำกล่อม จนหลงทางเชื่อว่า พระแท้จะต้องผ่านการประกวด จะต้องมีใบการันตี ทั้งๆที่ไม่มีการจดบันทึก ไม่มีตำราเรียนสืบทอดต่อกันมา ไม่มีตำนานลานทองให้ศึกษา จะไปเอาหลักฐานและข้อ มูลอะไรที่ไหนมายืนยันว่าเป็นพระแท้หรือไม่แท้ เป็นเหตุทำให้พ่อค้านักธุรกิจทหารตำรวจ และคนฐานะดีมีเงินสะสมพระเก๊กันไว้เต็มคอ 

ต้องเป็นตัวของตัวเอง

นักสะสมจะต้องหาจุดยืนของตนเองให้ได้ก่อน ว่าต้องการได้พระไว้เพื่ออะไร ถ้าต้องการได้พระไว้เพื่อความเป็นสิริมงคล ทำมาหากินเจริญรุ่งเรือง ค้าขายดี มีโชคลาภ และแคล้วคลาดปลอดภัย ก็ควรพิจารณาดูพระที่มีร่องรอยของความเก่าแก่ทางธรรมชาติ ที่ผ่านกาลเวลามานานนับร้อยปีพันปีเป็นหลัก แต่ถ้าต้องการได้พระไว้เพื่อส่งเข้าประกวดก็เลือกกลุ่มเลือกสมาคม เลือกพระตามกระแสนิยมในยุคนั้นๆไป ไม่ต้องสนใจว่าจะเป็นพระแท้หรือไม่แท้

ประสบการณ์งานประกวด

ขอแนะนำให้ดูงานประกวดปลาคาร์ฟที่ เดอะมอลล์ บางกะปิ ไว้เป็นตัวอย่าง ในงานนั้นมีคนสั่งปลาคาร์ฟจากฟาร์มในประเทศญี่ปุ่นโดยตรง เข้ามาประกวดกันหลายคน คณะผู้จัดการประกวดก็เชิญเจ้าของฟาร์มปลาคาร์ฟ จากประเทศญี่ปุ่น มาเป็นกรรมการตัดสินในการประกวดครั้งนั้นด้วย ปกติเจ้าของฟาร์มทุกคน จะจำปลาของตนเองได้หมดทุกตัว 

ผลการประกวด ปรากฏว่าคนที่นำปลาคาร์ฟเข้าจากประเทศญี่ปุ่นโดยตรงชนะ ได้รับรางวัลสำคัญๆหมดทุกตัว หลังจากการประกวดผ่านไป ปลาที่ชนะและได้รับรางวัลนั้น ขายดี มีราคาแพงขึ้นตัวละเป็นแสนเป็นล้าน แล้วปลาคาร์ฟไปเกี่ยวอะไรกับพระเครื่องด้วยล่ะ คิดเอาเองก็แล้วกัน 

อีกประสบการณ์หนึ่งคล้ายๆกันคือ เคยเห็นคณะกรรมการ ( บางคน ) เอาพระของตัวเองให้ญาติพี่น้องหรือเพื่อนส่งเข้าประกวดแทนได้รับรางวัลและใบการันตียืนยันเป็นพระแท้ หรอกนักนิยมใบเซอร์และเศษรฐีมาแล้ว ตราบใดที่นักสะสมไม่มีจุดยืนและความคิดเป็นของตัวเอง ก็ต้องถูกหลอกและไม่ได้ครอบครองเป็นเจ้าของพระแท้ของจริงอย่างนี้เรื่อยไป 



(ซ้าย) พิมพ์เข่าโค้งสร้างในยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์ (ขวา) พิมพ์เข่าโค้งสร้างในยุคขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ความแตกต่างที่น่าสนใจ 
 
พระนางพญาทั้งสองยุค เมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน จะเห็นความแตกต่างระหว่าง รูปทรงโครงสร้างขององค์พระและเนื้อดินที่สร้างได้ชัดเจน อายุการสร้างใกล้เคียงกัน มีพุทธคุณเหมือน กัน คือเน้นหนักในเรื่องแคล้วคลาดปลอดภัย โชคลาภ ค้าขายดี มีเมตตามหานิยม ร่ำรวยไวและ ไม่มีวันยากจนเป็นหลัก

พิธีปลุกเสก

พิธีปลุกเสกใช้วิธีอัญเชิญเทพและเทวดา ฤาษี พระสงฆ์ผู้ทรงศีลและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในเมืองพิษณุโลกอันได้แก่ หลวงพ่อพระพุทธชินราชเป็นต้น ปลุกเสกกันที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ

พระเกจิอาจารย์ในสมัยโบราณ ส่วนมากท่านจะมีเวทมนต์คาถาขลังและศักดิ์สิทธิ์ถึงขั้นพิสูจน์เป็นรูปธรรมได้ มาถึงยุคกรุงรัตน์โกสินทร์ ก็มีหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เสกใบมะขาม ให้เป็นผึ้งเป็นต่อไล่ต่อยศัตรู หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ เหยียบน้ำทะเลจืด หลวงพ่อลี ฉันทโก วัดภูน้ำเกลี้ยง เสกของให้คนกินแล้วรักใคร่หลงใหลกัน หลวงพ่อเกลี้ยง เมตตาธิคุณ วัดตะกู ปืนยิงไม่ออก มีดฟันไม่เข้า และอาจารย์วัลลภ ธรรมบันดาล เรียกสาลิกา ลิ้นทอง ลงมาช่วยผู้คนให้มีเสน่ห์ เมตตามหานิยม ค้าขายดี มีโชคลาภได้ เป็นต้น 
 
ดูตามประวัติการปลุกเสกวัตถุมงคลของพระเกจิอาจารย์ดังๆ ในสมัยโบราณจะพบว่าท่านปลุกเสกเดี่ยวกันทั้งนั้น ปัจจุบันก็ยังมีพระเกจิอาจารย์ที่เคร่งครัด ถึงกับไม่ไปนั่งทำพิธีปลุกเสก รวมกับพระเกจิอาจารย์จำนวนมากๆที่ไหน เพระกลัวไปนั่งทำพิธีรวมกับพระเกจิอาจารย์บางรูป ที่อาบัติถึงขั้นปาราชิกไปแล้ว

คำยืนยัน

พระเกจิอาจารย์อย่างเช่น หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ หลวงปู่โง่น สรโย หลวงพ่ออุตมะ วัดวังวิเวการาม หลวงพ่อเกษม เขมโก หลวงพ่อลี ฉันทโก วัดภูน้าเกลี้ยง หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อแย้ม วัดตะเคียน ท่าน บอกว่า พระที่อาบัติถึงขั้นปาราชิกไปแล้ว ถ้าไปเข้าทำพิธีอะไร พิธีนั้น วัตถุมงคลนั้น พระเกจิ อาจารย์ในพิธีนั้น จะเสื่อมความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ตามไปด้วย 

พระเกจิอาจารย์ที่เคร่งครัดจริงๆ ท่านจึงพยายามหลีกเลี่ยงไม่เสี่ยงไปร่วมพิธีปลุกเสกใน งานที่มีพระเกจิอาจารย์จำนวนมากๆกัน 
 
เรื่องนี้จะจริงหรือไม่จริงไม่ทราบได้ แต่สังเกตดูการปลุกเสกในยุคปัจจุบัน ไม่ปรากฏความขลังและความศักดิ์สิทธิ์อะไร ให้ผู้คนพิสูจน์ได้เด่นชัดเหมือนในอดีต ดังนั้นพระกรุเก่าแก่ในชุดเบญจภาคีทุกองค์ ผ่านการปลุกเสกเดี่ยวโดยพระเกจิอาจารย์สมัยโบราณ ที่มีความขลังและความศักดิ์สิทธิ์จริงๆมาแล้ว จึงสมควรที่จะนำมาสะสมไว้เป็นสมบัติของลูกหลานต่อไป

พระนางพญาสร้างกันหลายวัด

การสร้างพระนางพญาในยุคขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้มีวัดอื่นๆอย่างเช่น วัดบ่อทองคำ วัดสุดสวาท ( วัดโพธิ์ ) กรุโรงทอ วัดวังวารี และวัดอื่นๆ ร่วมสร้างพระเครื่องแจกเป็นขวัญและกำลังใจแก่ทหารและประชาชนทั่วไปด้วย โดยยึดรูปแบบพระนางพญา วัดนางพญาเป็นหลัก ส่วนที่เหลือก็นำไปบรรจุไว้ในกรุของวัดใครวัดมัน จึงเป็นที่มาของพระนางพญากรุวัดต่างๆ พระนางพญาจึงไม่ใช่มีแต่เฉพาะของกรุวัดนางพญาดังที่เข้าใจกันเท่านั้น เมื่อ ใดที่เห็นพระนางพญา อย่ารีบด่วนสรุป ว่าเป็นพระเก๊ พระปลอม พระผิดพิมพ์ อายุการสร้างไม่ ถึง ควรดูให้แน่ใจ ว่าเป็นพระนางพญา วัดไหน กรุไหน ใครสร้างเสียก่อน การนำพระเครื่องไปทุบไปบดเพื่อดูยุคดูสมัยและอายุการสร้าง ถือเป็นความคิดที่ไม่ฉลาดเลย การจะดูยุค ดูสมัยและดูดินที่สร้างพระเครื่องนั้น เขาจะต้องไปขุดดินในบริเวณที่นำดินมาสร้างพระเครื่องนั้นๆ มาดู โดยขุดเป็นชั้นๆลงไป จนกว่าจะเจอเนื้อดินที่ตรงกับเนื้อพระทีจะดูจึงจะถูก ไม่ใช่ไปขุดดินตรง ไหนก็ได้มาดู
ถ้ากรุไหนถูกฝังลึกลงไปไต้ดินมากๆอาจไปตรงกับทางเดินของน้ำหรือแร่ธาตุต่างๆอย่าง เช่นแร่เหล็กพบได้ใน“พระรอด”กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ที่มีสนิมเหล็กเกาะกันหนาเป็นแผ่นเป็นต้น พระรอดดังกล่าวก็มีหลงไปบรรจุอยู่ในกรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก เมือครั้งที่ทหารและประชาชนนำกลับไปคืนวัดด้วยเช่นกัน อาจารย์วัลลภ ธรรมบันดาล ท่านก็ได้ไว้หลายองค์ ใครสนใจอยากได้ก็ไปปรึกษากันเอาเอง ที่ 083-2347117 www.ตำนานพระนางพญา.com

พระเก๊ พระปลอมยังไม่มี

ตามประวัติในสมัยทวารวดี, สมัยอู่ทอง, สมัยสุโขทัย, สมัยกรุงศรีอยุธยา ยังไม่มีการซื้อขายหรือให้เช่าพระเครื่องกัน ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงไม่มีความจำเป็น ที่จะต้องทำปลอมกันขึ้นมา เพิ่งจะเริ่มมีการซื้อขายตลอดทั้งทำปลอมและลักขโมยขุดเจาะพระพุทธรูปหรือสถูปเจดีย์เพื่อค้น หาพระเครื่องในสมัยกรุงรัตน์โกสินทร์นี่เอง 

จึงเป็นที่ยืนยันได้ว่า พระเครื่องในชุดเบญจภาคีสมัยทวารดี, สมัยอู่ทอง, สมัยสุโขทัยและสมัยกรุงศรีอยุธยา ( ไม่มีพระเก๊พระปลอมแน่นอน ) จะปลอมกันไปทำไม จะปลอมไปขายใคร สมัยโบราณแจกฟรีคนยังเอาไปคืนวัดกันหมด 

หากมีการทำปลอมกันขึ้นมาจริงๆ ก็เพิ่งจะมีการทำปลอมกันในสมัยกรุงรัตน์โกสินเป็นต้นมาเท่านั้น ดูเนื้อดินที่สร้าง ดูความเก่าแก่ทางธรรมชาติก็รู้ ดูได้ไม่ยากเลยว่าสร้างในยุคไหนสร้างใหม่หรือสร้างเก่า ถ้าใครเคยได้เห็นพระแท้ของจริงมาก่อน ก็จะรู้และดูออกทันที ว่าพระแท้หรือไม่แท้ ถ้าจะให้แน่ใจ ก็เอากล้องถ่ายรูปคุณภาพสูงๆมาถ่าย แล้วนำไปโหลด ลงคอมพิว เตอร์ขยายดูมวลสารและเนื้อดินที่สร้าง ก็เห็นหมดทุกแง่ ทุกมุม ทุกเม็ดไม่จำเป็นต้องไปล้างหรือทำลายความเก่าแก่ทางธรรมชาติที่ผ่านกาลเวลามานานนับร้อยปีพันปีทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย

วิธีดูพระนางพญามีดังนี้

  1. พิจารณาดู รูปทรงขององค์พระว่าเหมือนหลวงพ่อพระพุทธชินราชหรือไม่ 
  2. พิจารณาดู ว่าพระพิมพ์อะไร ใครเป็นผู้สร้าง พิจารณาดู ด้านข้างทั้งสามด้าน ว่ามีรอยขรุขระยุบตัวที่เกิดจากการใช้ตอกตัดแยกองค์พระออกจากกันชัดเจนหรือไม่ 
  3. พิจารณาดู เนื้อดินว่าหยาบหรือละเอียด 
  4. พิจารณาดู สีของเนื้อดินว่าเป็นสีธรรมชาติหรือสีย้อม 
  5. พิจารณาดู ว่ามีมวลสารประเภทเหล็กไหล เหล็กน้ำพี้ พระธาตุขาวขุ่น พระธาตุสีชมพู ทรายเงิน ทรายทอง หรือไม่ หากองค์ไหนมีมวลสารดังกล่าวปรากฏอยู่หลายชนิด ก็จะได้รับความสนใจและมีคุณค่าราคาสูงมากขึ้นเท่านั้น องค์ไหนมีมวลสารปรากฏให้เห็นน้อย คุณค่าและราคาก็น้อยตามไปด้วย ส่วนมวลสารประเภทเกสรดอกไม้ 108 ว่าน 108 จะถูกเผาเป็นเถ้าถ่านไม่มีเหลือไว้ให้เห็นนอกจากร่องรอยขรุขระยุบตัวด้านข้างองค์พระเท่านั้น เป็นเหตุทำให้มีการล้างองค์พระเพื่อดูมวลสาร ถึงกับยอมล้างและทำลายสภาพความเก่าแก่ทางธรรมชาติ ทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย แต่ถ้าองค์ไหนไม่มีมวลสารใดๆปรากฏอยู่เลย อาจเป็นพระนางพญาที่สร้างขึ้นในยุคขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชตอนปลาย ( สงครามใกล้สงบแล้ว ) หรือไม่ก็เป็นพระนางพญาวัดอื่น 
  6. พิจารณาดู โครงสร้างหลักขององค์พระว่ายังอยู่ครบหรือไม่
  7. พิจารณาดู พระพักตร์ ( หน้า ) ว่ามีรูปทรงใดบ้าง หน้ากลมเล็ก, หน้ากลมใหญ่, หน้ารูปไข่, หน้าสามเหลี่ยม, หน้าสามเหลี่ยมแก้มตอบ, หน้าสามเหลี่ยมฤาษี, เป็นต้น                                                                                                                                                                                                    
                                                                 
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง