7 สิงหาคม 2557

ที่มาของพระนางพญา กรุวัดนางพญา จ. พิษณุโลก (ซึ่งนำมาแสดง ณ ที่นี้)



หมอบุญมี บุญไชยเดช
ผู้ที่ได้รับมอบ ( ไหบรรจุพระนางพญามาจากปู่บุญ ) 


พระนางพญาทั้งหมด เป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษของปู่บุญ ได้มาจากไต้ฐานพระพุทธรูปในวิหารวัดนางพญาที่พังทลายลงมา ในสมัยนั้นยังไม่มีผู้คนสนใจสะสมพระเครื่อง เจ้าอาวาสในสมัยนั้น จึงให้สามเณร ( ปู่บุญ ) ไปตามญาติพี่น้องให้มาช่วยกัยขนไหบรรจุพระเครื่องไปเก็บรักษาไว้ที่บ้านก่อน ใน เวลาผ่านไปหนึ่งหรือสองปีต่อมาอดีตเจ้าอาวาสก็มรณภาพด้วยโรคชรา ถึงช่วงที่ปู่บุญเติบโตเป็นหนุ่ม ก็อุปสมบท ตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ระยะหนึ่ง แล้วจึงลาสิกขาสึกออกมามีครอบครัว โดยไม่ได้สนใจไหบรรจุพระเครื่องนั้นเลย จวบจน กระทั่ง หมอบุญมีไปแต่งงานกับนางเขียว ลูกสาวคนโตของปู่บุญ จึงมีการเปิดไห บรรจุพระเครื่องนั้นออกดู จึงรู้ว่าภายในไหนั้นบรรจุพระนางพญาไว้จำนวนมาก จึงมั่นใจได้ว่า พระนาง พญา” ในหนังสือตำนานเล่มนี้ทุกองค์ เป็นพระแท้ 100% 



อาจารย์วัลลภ ธรรมบันดาล
ผู้เปิดตำนานพระนางพญา กรุวัดนางพญา จ,พิษณุโลก 


สาระสำคัญในการจัดทำหนังสือ "ตำนานพระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก" ในครั้งนี้ ก็เพื่อเล่าเรื่องและประวัติการสร้างให้ผู้สนใจทั่วไปได้ศึกษาหาความรู้อย่างถูกต้อง โดยไม่มีการแต่งเติมเสริมเนื้อหาให้ผิดเพียนไปจากความจริงแต่อย่างใร อย่างน้อยก็ช่วยยืนยันว่าพระนางพญาแท้ในโลกนี้ยังมีอยู่จริง 

ในตำนานเล่มนี้มีภาพประกอบขยายใหญ่ ให้ดูเนื้อพระและมวลสาร ในสภาพเดิมๆ สีสันเหมือนจริงทุกมุมมองประวัติการสร้างถูกต้องโดยมีความเก่า แก่ทางธรรมชาติอยู่เหนือคำอธิบาย


พระนางพญา


เป็นพระในตำนานประวัติศาสตร์ชาติไทยนอกตำรา ที่จัดสร้างขึ้นจำนวนมาก หลายพิมพ์ หลายขนาด หลายสี ไม่มีการจดบันทึก ไม่มีตำราเรียนสืบทอดต่อกันมา ยากแก่การจดจำ อีกทั้งไม่มีหลักฐานและข้อมูลอื่นใดที่จะยืน ยันได้ว่า พระแท้กับพระไม่แท้ต่างกันอย่างไร สมาคมและผู้เชี่ยวชาญในการดูพระเครื่องหรือเซียนยุคปัจจุบัน ก็ไม่สามารถหาหลักฐานและเหตุผลอื่นใดมาตัดสินได้ว่าพระแท้หรือไม่แท้ เพราะไม่มีใครเกิดทัน ไม่รู้ว่าจะไปเอาข้อมูลและหลักฐานมาจากไหน นอกจากประวัติการสร้างที่คนรุ่นปู่ย่าตาทวดท่านจดบันทึกสืบทอดต่อกันมา และร่องรอยความเก่าแก่ทางธรรมชาติที่ผ่านกาลเวลามานานนับร้อยปีเท่านั้น ที่จะการันตีได้ว่าพระแท้หรือไม่แท้ 

พระนางพญาที่นำมาโชว์ให้ดูเป็นบุญตาทั้งหมดนี้ มีร้อยละ 70% เจ้า ของพระรักและหวงแหนมาก ไม่ประสงค์ที่จะให้ผู้ใดเช่า ต้องการโชว์ให้ชมเพื่อการศึกษาเท่านั้น อีก 30% หากท่านใดสนใจอยากได้องค์ไหน ต้องติดต่อสอบถามรายละ เอียดเพิ่มเติมได้ จากอาจารย์วัลลภ ธรรมบันดาล ผู้เปิดตำนานพระนางพญานี้ก่อน 




นับว่าท่านเป็นผู้โชคดี ที่ได้ชมการเปิดตำนานพระนางพญา กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก ที่รวบรวมและจดบันทึกสืบทอดต่อกันมาหลายช่วงอายุคน แต่ละคนไม่มีผู้ใดทำธุรกิจซื้อขายพระเครื่องมาก่อน นับได้ว่าเป็นตำนานบริสุทธิ์ ไม่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายใดๆ ข้อมูลและประวัติการสร้างพระนางพญา รวบรวมโดยบุคคลระดับอาวุโสที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในจังหวัดพิษณุโลกมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยได้นำเหตุผลทางธรรมชาติมาวิเคราะห์ร่วมกับภาพประกอบ เพื่อแยกยุคแยกสมัยให้เห็นความแตกต่างด้วยเหตุผลและความเป็นไปได้อย่างชัดเจน มีคุณค่าแก่ผู้สนใจเป็นอย่างยิ่ง สามารถนำไปใช้เป็นตำราอ้างอิงประกอบการพิสูจน์ได้ ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์ อักษรศาสตร์ ดาราศาสตร์ ธรณีวิทยา โบราณคดี จิตวิทยา และศิลปะศาสตร์ ฯลฯ 

ในการจัดทำสารคดีนี้ มุ่งเน้นความเป็นกลางและถูกต้อง ไม่ลำเอียงเข้าข้างผู้ทำธุรกิจให้เช่าพระเครื่องแต่อย่างไร หวังให้ผู้สนใจรู้จักวิเคราะห์ รู้จักใช้เหตุผล ในการพิจารณาระหว่างของเก่ากับของใหม่ ดินเผาเก่ากับดินเผาใหม่แตกต่างกันอย่างไร ที่ผ่านมาพบว่าการดูพระเครื่อง จะมุ่งเน้นดูกันที่รูปภาพและรูปทรงขององค์พระ ว่าเป็นพิมพ์อะไร มีตำหนิตรงไหนบ้างเท่านั้น 

การดูตำหนิอย่างหนึ่งอย่างใดตายตัว ไม่ใช่เหตุผลที่จะนำมาตัดสิน ว่าเป็นพระแท้หรือไม่แท้ เพราะในขณะที่แกะพระออกมาจากแม่พิมพ์ใหม่ๆ โดยบุคคลคนเดี่ยวกัน เวลาห่างกันสี่ห้านาที ก็ไม่เหมือนกันแล้ว การสร้างพระเครื่องจากแม่พิมพ์หลายอัน ทำโดยบุคคลหลายคน จะมีตำหนิเหมือนกัน ที่เดียวกันเป็นไปไม่ได้ 

ปกตินักนิยมสะสมของเก่าทั่วไป จะอนุรักษ์ร่องรอยความเก่าแก่ทางธรรมชาติไว้ให้อยู่ในสภาพเดิมๆ จะไม่ทำลายหลักฐานความเก่าแก่ตามกาลเวลาที่ผ่านมาทิ้งไปโดยเด็ดขาด ถ้าจะดูพระแท้หรือไม่แท้ ดูจากสภาพของความเก่าแก่ตามธรรมชาติ น่า เชื่อถือกว่า ยิ่งเป็นพระเครื่อง ก็ยิ่งควรจะรักษาสภาพความเก่าแก่ไว้เป็นหลักฐาน ในการสร้าง ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไปล้างหรือทำลายทิ้ง ต่อจากนั้นจึงดูรูปทรงขององค์พระ ว่าสร้างในยุคใด สมัยไหน ใครเป็นผู้สร้าง